Skip to main content

Square Enix ทดลองตลาดเกมส์ในไทยด้วย Final Fantasy ฉบับภาษาไทย


เชื่อว่าเพื่อนๆ หลายๆ คนคงเคยเห็น Final Fantasy ที่ทาง Square Enix รีเมคใหม่ลงมือถือใน iPhone กันแล้ว ซึ่งจริงๆ แล้วใน Android ทาง Square Enix ก็ทำออกมาขายนะครับ เพียงแต่ยังจำกัดตลาดขายเฉพาะที่ญี่ปุ่นเท่านั้น (ไม่ได้ขายใน Play Store)

เชื่อว่าในตอนนี้หลายๆ คนยังคงคาดหวังให้เกมส์ Final Fantasy ลง Play Store ซักที แต่ดูเหมือนว่าทาง Square Enix ไม่อยากขายเกมส์บน Play Store ซักเท่าไร เพราะเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม ที่ผ่านมาทาง Square Enix เปิดขาย Final Fantasy ฉบับภาษาไทยโดยการหักเงินจากมือถือ (รองรับ AIS, DTAC, TRUE)



โดย Final Fantasy ฉบับภาษาไทยนี้ทาง Square Enix ได้มอบหมายให้บริษัท Game Square Interactive Co.,LTD. เป็นผู้พัฒนาและจัดจำหน่าย Final Fantasy ฉบับภาษาไทย ซึ่งเป็นการทดลองตลาดเกมส์ในไทยของ Square Enix โดยไทยไม่ใช่ประเทศแรกในภูมิภาคอาเซียน (SEA) ที่ Square Enix ทดลองขายเกมส์ ก่อนหน้านี้อินโดนีเซียก็มี Final Fantasy ฉบับภาษาของตัวเอง สำหรับผู้ใช้ Samsung Galaxy W เช่นกัน ถ้าหากโปรเจคครั้งนี้ประสบความสำเร็จ ก็มีโอกาสที่จะเห็น Final Fantasy ภาคอื่นๆ ในฉบับภาษาไทย หรือแม้กระทั่งเกมส์อื่นๆ ของค่าย Square Enix (อ้างอิงมาจาก Final Fantasy Thailand)

สำหรับรายละเอียดของมือถือที่รับรอง รวมไปถึงวิธีการซื้อโดยละเอียดให้ลองไปอ่านได้ที่ Fan Page: Game Square Interactive Co.,LTD. ครับซึ่งผมจะสรุปคร่าวๆ ให้ดังนี้

  1. ขอ url สำหรับ Download (ดังภาพด้านบน) ผ่านทาง IVR ด้วยการกด *4844292 แล้วโทรออก (ผมลองแล้วใช้ไม่ได้ในเครือข่าย DTAC ในระบบเติมเงิน
  2. ถ้าขอ url ไม่ได้สามารถเข้า url สำหรับดาวน์โหลด ผ่านทางมือถือได้โดยตรง (ดังภาพด้านบน) โดยจะมีค่าใช้จ่ายประมาณ 60 บาท
ข้อสำคัญ: ในขั้นตอนการดาวน์โหลดเกมส์ ก่อนคลิกที่ปุมดาวน์โหลด กรุณาปิด Wi-fi และใช้การเชื่อมต่อผ่านเครื่อข่ายโทรศัพท์มือถือที่ท่านใช้งานอยู่เท่านั้น

ซึ่งสถานการณ์ในตอนนี้หลังจากเปิดขายไปได้ 1 เดือนทาง Final Fantasy Thailand "บอกว่ายอดยังไม่ถึงเป้าที่ทาง Square Enix คาดหวังไว้"


ปิดท้ายด้วยภาพตัวอย่างเกมส์ FINAL FANTASY ฉบับภาษาไทย (ในเครื่อง Galaxy Nexus ของผมเอง)








ที่มา blognone, Final Fantasy Thailand และ Game Square Interactive Co.,LTD.

ปล. Final Fantasy Thailand ไม่ใช่ Official Fanpage ของ FINAL FANTASY ฉบับภาษาไทยนะครับ เป็นคนในของบริษัท Game Square Interactive Co.,LTD. มาเปิดเองเพื่อใช้คุยกับเพื่อนๆตามภาษาแฟนไฟนัลเหมือนกันเท่านั้น ส่วนใครที่เคยเห็น Final Fantasy ฉบับภาษาไทยในคอมพิวเตอร์ อันนั้นนักพัฒนาไทยมาโมเองครับ ไม่เกี่ยวข้องกับ Square Enix

Comments

Popular posts from this blog

ลองเล่นและเรียนรู้พื้นฐานขั้นต้นของ Spring Framework

** สำหรับใครที่ไม่เคยเรียนรู้ในด้านของ Java EE หรือ J2EE อาจจะมึนงงกับศัพท์หน่อยครับ ทำไมต้อง Spring Spring เป็น framework ที่นิยมมากในการนำไปสร้างระบบในระดับ enterprise ในเริ่มแรกที่ Spring เกิดมา มีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะมาแทนที่มาตรฐานของ Java อย่าง J2EE (Java 2 Enterprise Edition) ที่มันทั้งหน่วงทั้งอืดและยุ่งยาก โดยเฉพาะในส่วนของ EJB (Enterprise Java Bean) ที่ถือว่าเป็นฝันร้ายของนักพัฒนา ทำให้กูรูสาย Java ในช่วงนั้นถึงกับแนะนำว่า ถ้าจำเป็นที่ต้องพัฒนาระบบด้วย J2EE จงอย่าใช้ EJB ถึงขั้นถึงกับมีหนังสือแนะแนวทางการพัฒนาระบบ J2EE โดยไม่ใช้ EJB อย่างไรก็ตามทาง Sun ผู้เป็นเจ้าของ Java ในสมัยนั้น ถึงกับต้องมาล้างระบบ J2EE ใหม่ในปี 2006 จัดการใน EJB ให้ใช้ง่ายขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีการเปลี่ยนชื่อจาก J2EE เป็น Java EE (Java Enterprise Edition) เพื่อลบภาพอันเลวร้ายของเดิมให้หมด และได้มีการนำฟีเจอร์เด็ดๆ ของ open source framework หลายๆ ตัว อย่างเช่นแกนหลักของ Spring อย่าง IoC (Inversion of Control) หรือ OR Mapping (Object Relational Mapping) ที่เป็นที่นิยมอย่าง Hibernate แต่ก็ไ

ลองเล่น Lambda Expression ฟีเจอร์เด่นใน Java 8

ประวัติความเป็นมาของ Lambda expression Lambda expression ไม่ใช่สิ่งแปลกใหม่ในวงการ ภาษาโปรแกรม ( Programming Language ) เพราะ lambda มันเป็นแกนหลักของ การเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชัน ( Functional Programming ) ซึ่งมีอายุมานานมากแล้ว แต่ Java เพิ่งนำเอาคุณสมบัตินี้เอามาใส่ลงในเวอร์ชัน 8 หากจะกล่าวถึงที่มาของ lambda คงต้องไปดูที่ถึงที่มาของ lambda calculus ซึ่งถูกสร้างขึ้นมาตั้งแต่ปี 1930 โดยนักคณิตศาสตร์ชาวอเมริกัน  Alonzo Church  เพื่อใช้ในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ที่มีความซับซ้อน ในบางครั้งสมการทางคณิตศาสตร์ที่ยาวไปอาจจะทำให้เกิดความซับซ้อนโดยใช่เหตุ lambda calculus จะทำการยุบบางส่วนของสมการนั้นออกมาเป็นฟังก์ชันย่อยๆ เพื่อทำให้สมการนั้นเข้าใจง่ายขึ้น ต่อมาหลักการของ lambda calculus ได้ถูกนำไปใช้ใน Turing Machine ซึ่งเป็นแบบจำลองในอุดมคติของ Alan Turing  ที่ต่อมากลายเป็นต้นแบบที่ถูกนำไปใช้ในการผลิต  Von Neumann Machine  ซึ่ง Von Neumann Machine ตัวนี้ได้กลายเป็นต้นแบบของคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกในเวลาต่อมา ท้ายที่สุดแนวคิดของ lambda calculus ก็ถูกนำมาแปลงเป็นภาษาโปรแกรมท

ลองเล่น SonarQube คลื่นโซนาร์ช่วยตรวจสอบคุณภาพของ code

SonarQube  คือเครื่องมือช่วยตรวจสอบคุณภาพของ source code ช่วยหาข้อบกพร่องใน source code ไม่ว่าจะเป็น Bug ที่น่าจะเกิดขึ้น ช่องโหว่ทางด้านความปลอดภัยหรือกลิ่นไม่ดีใน source code ของเรา (Code Smell) และ ช่วยตรวจสอบเราเขียน code ทดสอบครอบคลุมหรือดีแล้วยังยัง (code coverage) Code Smell ไม่ได้ใช้วัดว่า source code นี้สามารถทำงานได้ถูกต้อง มี bug หรือช่องโหว่หรือไม่ แต่ Code Smell ใช้วัดถึงคุณภาพของการออกแบบ เพื่อตรวจสอบว่า source code ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันจะสามารถต่อเติม แก้ไขหรือทดสอบได้ง่ายหรือไม่ โดยหลักเกณฑ์ที่นำมาใช้วัดในส่วนของ Code Smell คือ ความซ้ำซ้อนของ code มี code แบบเดียวกันไปซ้ำกันในไฟล์ไหนบ้าง ตรวจสอบเงื่อนไขใน if ให้ ว่าเงื่อนไขตรงนี้มันมีโอกาสเป็นไปได้ไหม เพราะบางทีเงื่อนไขที่เราเขียนขึ้นมาเพื่อดักไว้ในบางครั้งมันแทบจะไม่มีโอกาสที่เวลามันทำงานแล้วเข้าเงื่อนไขในส่วนนั้น เป็นต้น สามารถไปอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ http://www.somkiat.cc/code-smell-internal-class/ นอกจาก SonarQube จะสามารถบอกถึงคุณภาพของ source code เราได้แล้ว ยังสามารถใช้ในการแจกแจงงานให