Skip to main content

Android 4.1 Jelly Bean เปิดตัวแล้ว พร้อมปล่อยอัพเดทกลางเดือนกรกฎาคมนี้ พร้อมสรุปฟีเจอร์แบบคร่าวๆ


Google เปิดตัว Android 4.1 Jelly Bean ที่มาพร้อมกับ Project Butter ที่จะทำให้ Android UI ของคุณรันได้อย่างไหลลื่น โดยการประสานเทคโนโลยีระหว่าง V-Sync adaptations และ triple buffering จะนำคุณเข้าสู่ประสบการณ์การเรนเดอร์หน้าจอระดับ 60 เฟรมต่อวินาที (FPS)

นอกจากนี้ยังมีอัพเดทอื่นๆ อีกมากมายซึ่งพอจะสรุปคร่าวๆ ได้ดังนี้

Notification Bar: Widget ที่ฝังอยู่บนระบบแจ้งเตือน


หน้าตา (UI) ของระบบแจ้งเตือนตัวใหม่นั้นเปรียบได้กับการเอา Widget ไปอยู่บน Notification Bar โดย Notification Bar ในแต่ละ แอพพิลเคชั่น จะมีรูปร่างหน้าตาแตกต่างกันไปตามแต่ละการออกแบบของนักพัฒนา

แต่ละการแจ้งเตือน เราสามารถกด "ย่อและขยาย" (expand and collapse) เพื่อดูรายละเอียดต่างๆ บน Notification Bar ได้เลย นอกจากนั้นยังสามารถทำ Action บางอย่างในการแจ้งเตือนนั้นๆ ได้ด้วย อย่างเช่น การแจ้งเตือน Miss Call ถ้าเรากดขยาย มันก็จะแสดงข้อมูลเพิ่มเติมขึ้นมาว่า มีการโทรเข้ามาในเวลาไหน นอกจากนี้ยังมีปุ่มให้กดโทรหรือส่งข้อความตอบกลับใน Notification Bar ได้เลย


หรืออีกตัวอย่างของ Pulse ที่แจ้งเตือนว่ามีข่าวใหม่เข้ามา เมื่อเรากดขยาย มันก็จะแสดงตัวอย่างข่าวให้ดู (Thumbnail) นอกจากนี้ถ้าเราชอบก็ยังสามารถกดแชร์ผ่านบน Notification Bar ได้อีกด้วย

อ้างอิงจาก Android Central



Voice Search: การค้นหาด้วยเสียงรูปแบบใหม่ ที่จะมาเป็นคู่แข่ง S-Voice ของ Samsung และ Siri ของ Apple


Voice Search ความหมายตามชื่อคือ ใช้ค้นหาและถามได้อย่างเดียว ใช้สั่งให้ทำงานไม่ได้ ซึ่งระบบดีกว่าใน Android 4.0 มาก เพราะประสานเอาเทคโนโลยี Knowledge Graph ที่จากเดิมการค้นหาจาก Google เราจะได้เว็บไซด์ที่มี key word ตรงกับคำที่เราค้นหา แต่ Knowledge Graph จะเอาความสัมพันธ์ของวัตถุต่างๆ มาผูกเข้าไว้ด้วยกัน เช่น สถานที่ คน สิ่งของ และอื่นๆ เพื่อสามารถแสดงข้อมูลได้กว้างขึ้น 

อาจจะฟังงงๆ ขอยกตัวอย่างในงาน Google I/O ที่พิธีกรสั่งค้นหาว่าใครคือนายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่นคนปัจจุบัน ระบบ Voice Search ก็ไปหาข้อมูลมาว่าใครคือนายก แล้วไปเอาข้อมูลประวัติของคนๆ นั้นจาก Wiki มาแสดงให้ดู (นายกรัฐมนตรีญี่ปุุ่น + คนล่าสุดคือใคร + ประวัติของคนคนนั้น)

อ้างอิงจาก Android Central

Google Now: เอาข้อมูลล่าสุดมาแสดงให้คุณดู (โดยแลกกับข้อมูลของคุณ)


Google Now เป็นการเอาข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับเราทั้งหมดมาช่วยให้เราใช้ชีวิตสะดวกขึ้น (แต่ต้องแลกกับข้อมูลส่วนตัวของเรา :( ) ยกตัวอย่างเช่นเราจะนั่งรถเมล์จากที่นึงไปอีกที่นึง Google จะบอกว่าเราจะต้องนั่งสายไหน และจะบอกว่าจะใช้เวลาเท่าไร โดยคำนวณระยะเวลาจากเส้นทางจราจร และจะแจ้งเตือนอัตโนมัติเมื่อต้องเปลี่ยนสายหรือถึงปลายทาง (US Only) 


อาจจะยังไม่เห็นภาพ ขอยกอีกซักตัวอย่าง Google Now จะรายงาน Live Score ของทีมฟุตบอลที่คุณชอบให้อัตโนมัติ โดยที่คุณไม่ต้องบอกมัน เพราะมันรู้ว่าเราชอบ!!!  ฟังดูแล้วมันดูเหมือนจะเจ๋ง แต่มันก็เป็นเรื่องตลกร้ายที่เราโดนละเมิดความเป็นส่วนตัว :(


อ้างอิงจาก Android Central


เกี่ยวกับคีบอร์ด: คีบอร์ด ภาษาไทย, ระบบเดาคำศัพท์, พิมพ์โดยใช้เสียงพูดแบบ Offline (ภาษาไทยกำลังจะรองรับ)


สิ่งที่ทุกคนรอคอยคีบอร์ดภาษาไทยจะมีอยู่ใน Stock Rom Jelly Bean แล้ว นอกจากนี้ Google ยังเปิดตัว Voice Typing แบบ Offline โดยในขั้นแรกจะมีแค่ภาษาอังกฤษ แต่ภาษาอื่นๆ รวมทั้งไทย จะตามมาในไม่ช้า นอกจากนี้ ยังมีระบบเดาคำศัพท์เพิ่มเข้ามาอีกด้วย


สุดท้ายนี้ Galaxy Nexus, Nexus S และ Motorola Xoom (คาดว่า Wifi) จะได้รับอัพเดท Android 4.1 กลางเดือนกรกฎาคมนี้
ที่มา Android Central

ปล. นี่คือรายละเอียดบางส่วนของ Jelly Bean เท่านั้น ยังไม่ได้พูดในส่วนของ "กล้อง" ที่มีลูกเล่นน่าสนใจเยอะขึ้น และในส่วนของ Android Beam ที่สามารถส่ง File ได้แล้ว (ตัว NFC น่าจะใช้ในการ pair ระหว่างอุปกรณ์แล้วใช้ Bluetooth เป็นตัวกลางในการโอนถ่ายข้อมูล) ส่วนรายละเอียดอื่นๆ ขอสรุปอีกหลังสำนักข่าวต่างประเทศสรุปมาอีกที

Comments

Popular posts from this blog

ลองเล่นและเรียนรู้พื้นฐานขั้นต้นของ Spring Framework

** สำหรับใครที่ไม่เคยเรียนรู้ในด้านของ Java EE หรือ J2EE อาจจะมึนงงกับศัพท์หน่อยครับ ทำไมต้อง Spring Spring เป็น framework ที่นิยมมากในการนำไปสร้างระบบในระดับ enterprise ในเริ่มแรกที่ Spring เกิดมา มีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะมาแทนที่มาตรฐานของ Java อย่าง J2EE (Java 2 Enterprise Edition) ที่มันทั้งหน่วงทั้งอืดและยุ่งยาก โดยเฉพาะในส่วนของ EJB (Enterprise Java Bean) ที่ถือว่าเป็นฝันร้ายของนักพัฒนา ทำให้กูรูสาย Java ในช่วงนั้นถึงกับแนะนำว่า ถ้าจำเป็นที่ต้องพัฒนาระบบด้วย J2EE จงอย่าใช้ EJB ถึงขั้นถึงกับมีหนังสือแนะแนวทางการพัฒนาระบบ J2EE โดยไม่ใช้ EJB อย่างไรก็ตามทาง Sun ผู้เป็นเจ้าของ Java ในสมัยนั้น ถึงกับต้องมาล้างระบบ J2EE ใหม่ในปี 2006 จัดการใน EJB ให้ใช้ง่ายขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีการเปลี่ยนชื่อจาก J2EE เป็น Java EE (Java Enterprise Edition) เพื่อลบภาพอันเลวร้ายของเดิมให้หมด และได้มีการนำฟีเจอร์เด็ดๆ ของ open source framework หลายๆ ตัว อย่างเช่นแกนหลักของ Spring อย่าง IoC (Inversion of Control) หรือ OR Mapping (Object Relational Mapping) ที่เป็นที่นิยมอย่าง Hibernate แต่ก็ไ

ลองเล่น Lambda Expression ฟีเจอร์เด่นใน Java 8

ประวัติความเป็นมาของ Lambda expression Lambda expression ไม่ใช่สิ่งแปลกใหม่ในวงการ ภาษาโปรแกรม ( Programming Language ) เพราะ lambda มันเป็นแกนหลักของ การเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชัน ( Functional Programming ) ซึ่งมีอายุมานานมากแล้ว แต่ Java เพิ่งนำเอาคุณสมบัตินี้เอามาใส่ลงในเวอร์ชัน 8 หากจะกล่าวถึงที่มาของ lambda คงต้องไปดูที่ถึงที่มาของ lambda calculus ซึ่งถูกสร้างขึ้นมาตั้งแต่ปี 1930 โดยนักคณิตศาสตร์ชาวอเมริกัน  Alonzo Church  เพื่อใช้ในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ที่มีความซับซ้อน ในบางครั้งสมการทางคณิตศาสตร์ที่ยาวไปอาจจะทำให้เกิดความซับซ้อนโดยใช่เหตุ lambda calculus จะทำการยุบบางส่วนของสมการนั้นออกมาเป็นฟังก์ชันย่อยๆ เพื่อทำให้สมการนั้นเข้าใจง่ายขึ้น ต่อมาหลักการของ lambda calculus ได้ถูกนำไปใช้ใน Turing Machine ซึ่งเป็นแบบจำลองในอุดมคติของ Alan Turing  ที่ต่อมากลายเป็นต้นแบบที่ถูกนำไปใช้ในการผลิต  Von Neumann Machine  ซึ่ง Von Neumann Machine ตัวนี้ได้กลายเป็นต้นแบบของคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกในเวลาต่อมา ท้ายที่สุดแนวคิดของ lambda calculus ก็ถูกนำมาแปลงเป็นภาษาโปรแกรมท

ลองเล่น SonarQube คลื่นโซนาร์ช่วยตรวจสอบคุณภาพของ code

SonarQube  คือเครื่องมือช่วยตรวจสอบคุณภาพของ source code ช่วยหาข้อบกพร่องใน source code ไม่ว่าจะเป็น Bug ที่น่าจะเกิดขึ้น ช่องโหว่ทางด้านความปลอดภัยหรือกลิ่นไม่ดีใน source code ของเรา (Code Smell) และ ช่วยตรวจสอบเราเขียน code ทดสอบครอบคลุมหรือดีแล้วยังยัง (code coverage) Code Smell ไม่ได้ใช้วัดว่า source code นี้สามารถทำงานได้ถูกต้อง มี bug หรือช่องโหว่หรือไม่ แต่ Code Smell ใช้วัดถึงคุณภาพของการออกแบบ เพื่อตรวจสอบว่า source code ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันจะสามารถต่อเติม แก้ไขหรือทดสอบได้ง่ายหรือไม่ โดยหลักเกณฑ์ที่นำมาใช้วัดในส่วนของ Code Smell คือ ความซ้ำซ้อนของ code มี code แบบเดียวกันไปซ้ำกันในไฟล์ไหนบ้าง ตรวจสอบเงื่อนไขใน if ให้ ว่าเงื่อนไขตรงนี้มันมีโอกาสเป็นไปได้ไหม เพราะบางทีเงื่อนไขที่เราเขียนขึ้นมาเพื่อดักไว้ในบางครั้งมันแทบจะไม่มีโอกาสที่เวลามันทำงานแล้วเข้าเงื่อนไขในส่วนนั้น เป็นต้น สามารถไปอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ http://www.somkiat.cc/code-smell-internal-class/ นอกจาก SonarQube จะสามารถบอกถึงคุณภาพของ source code เราได้แล้ว ยังสามารถใช้ในการแจกแจงงานให