Skip to main content

รีวิว แบตเตอร์รีเสริมของ Galaxy Nexus ที่สั่งซื้อจาก eBay


จาก blog เก่าที่ผมมีปัญหากับ eBay ผมได้สั่งซื้อแบตเสริมของ Galaxy Nexus มา ซึ่งตอนนั้นคิดว่าจะไม่ได้ซะแล้ว เพราะรอมาสิบกว่าวันของก็ยังไม่ได้ เมื่อวานนี้ทางตึกที่ผมทำงานอยู่ เค้าได้ส่งของมาให้ เค้าบอกว่าของมาถึงเมื่อสามวันที่แล้ว แต่ลืมขึ้นมาส่งให้ =='


เมื่อลองแกะออกมาก็พบว่า "แบตนี้ของปลอมแน่นอน" ที่จริงมันน่าจะรู้ตั้งแต่ราคาที่ถูกเวอร์ของมันแล้ว ราคาแค่ 300 กว่าบาท แต่ได้แบตถึงสามก้อนและ wall charge อีกหนึ่งอัน ซึ่งมันถูกเวอร์มาก แต่แบตปลอมตัวนี้พบว่ารูปลักษณ์ค่อนข้างเนียนเหมือนของแท้เลย (ดูรูปด้านล่าง) ถ้าไม่เอาแบตแท้มาเทียบกัน อาจจะหลงคิดว่าเป็นของจริง โดยจะต่างกันแค่เพียงขนาดตัวอักษรใน label (ฉลาก) ของแบตของแท้มันจะเล็กกว่าของปลอมเท่านั้น



ส่วน wall charge ก็ดูดี เป็นแท่นชาร์จที่ลักษณะเหมือนที่เราเสียบแบตเข้าเครื่อง galaxy nexus ทำให้ตอนชาร์จเราจะเสียบ wall charge แบบไหนก็ไม่หล่นครับ (อย่างในรูปผมวางหงาย) นอกจากนี้ยังมีช่องเสียบ USB ที่สามารถชาร์จเอาสาย USB เสียบเข้ามือถือเพื่อชาร์จ ทำให้สามารถชาร์จแบตเสริมและเสียบชาร์จมือถือได้ไปพร้อมๆ กัน และยังมีไฟบอกสถานะ ถ้าสีแดงแสดงว่ายังชาร์จอยู่ สีเขียวแสดงว่าชาร์จเสร็จแล้ว



ที่บอกว่ามี NFC จริงๆ แล้วไม่มีครับ ส่วนที่ผมซื้อแบตปลอมแบบนี้มา เชื่อว่าหลายๆ คนคงสงสัยกันว่าไม่กลัวมันระเบิดหรอ ที่ไม่กลัวคิดว่ามันคงเหมือนแบต 3310 ซึ่ง 3310 เป็นมือถือที่ผมใช้ยาวนานที่สุด นานถึง 6 ปี แน่นอนใช้นานขนาดนี้แบตมันก็ต้องมีเสื่อม แต่ว่าการจะหาแบตแท้ๆ ของ 3310 พบว่ามันหายากมาก (ในต่างจังหวัด) ทำให้ต้องใช้แบตเทียมของพวกจีนแดง ซึ่งใช้แบตพวกนี้จนเปลี่ยนไป 3-4 ก้อนแล้วก็ไม่พบปัญหาอะไร

อีกอย่างเวลาชาร์จผมก็ไม่ได้ชาร์จในโทรศัพท์ ชาร์จใน wall charge ถ้าหากมันระเบิดก็ให้มันระเบิดไป ไม่กระทบกับมือถือชัวร์ (ถ้าตอนนั้นผมไม่ได้ไปอยู่ใกล้ๆ)

จากการซื้อแบตเสริมในคราวนี้ทำให้รู้ว่า แบตเทียมของ 3310 ที่เค้าเอามาขายก้อนละ 200 - 300 นี่พ่อค้าที่ไปรับซื้อมาคงรวยน่าดู ขนาดคนที่เอามาขายใน eBay ยังขายในราคา 300 - 400 ที่มาพร้อมกับแบตสามก้อนและ wall charge อีกอัน แถมฟรีค่าขนส่งอีกต่างหาก

โดยส่วนตัวผมคิดว่า แบตเทียมตัวนี้คงไม่ใช่ Lion แน่ๆ น่าจะเป็น Technology อื่นที่ตำกว่านั้น เพราะแบตแท้ของ Galaxy Nexus ใช้เวลาชาร์จไม่ถึง 1.30 ชม. ก็เกือบเต็มแล้ว แต่แบตปลอมตัวนี้ใช้เวลา 4 - 5 ชม.

ที่เขียนรีวิวนี้ขึ้นมา ผมไม่ได้จะชักชวนให้เพื่อนๆ ซื้อของปลอมมาใช้ แต่หวังว่าคงจะได้เป็นแนวทางให้เพื่อนๆ สามารถแยกแยะแบตปลอมกับแบตแท้ได้

เพิ่มเติม ไปเจอโรงงานที่คาดว่าจะเป็นผู้ผลิตแบตนี้แล้ว (ulikemobile) ซึ่งผลิตอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าเป็นมือถือ notebook tablet ของแบรนดังต่างๆ พบว่าราคาจริงๆ มันแค่เพียง 1-2 US Dolla เท่านั้น ประมาณ 30-60 บาทต่อก้อน (จะถูกถ้าสั่งซื้อเยอะๆ) เท่าที่เข้าไปดูในเว็บก็ดู ok น่าเชื่อถือ แต่ปัญหาเรื่องแบตระเบิดเกิดขึ้นได้ทั้งแบตแท้และปลอม พึงสังวรและระวังกันเองนะครับ

ปล. ที่จีนมีบริษัทผลิตของพวกนี้เยอะมา

Comments

Popular posts from this blog

ลองเล่นและเรียนรู้พื้นฐานขั้นต้นของ Spring Framework

** สำหรับใครที่ไม่เคยเรียนรู้ในด้านของ Java EE หรือ J2EE อาจจะมึนงงกับศัพท์หน่อยครับ ทำไมต้อง Spring Spring เป็น framework ที่นิยมมากในการนำไปสร้างระบบในระดับ enterprise ในเริ่มแรกที่ Spring เกิดมา มีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะมาแทนที่มาตรฐานของ Java อย่าง J2EE (Java 2 Enterprise Edition) ที่มันทั้งหน่วงทั้งอืดและยุ่งยาก โดยเฉพาะในส่วนของ EJB (Enterprise Java Bean) ที่ถือว่าเป็นฝันร้ายของนักพัฒนา ทำให้กูรูสาย Java ในช่วงนั้นถึงกับแนะนำว่า ถ้าจำเป็นที่ต้องพัฒนาระบบด้วย J2EE จงอย่าใช้ EJB ถึงขั้นถึงกับมีหนังสือแนะแนวทางการพัฒนาระบบ J2EE โดยไม่ใช้ EJB อย่างไรก็ตามทาง Sun ผู้เป็นเจ้าของ Java ในสมัยนั้น ถึงกับต้องมาล้างระบบ J2EE ใหม่ในปี 2006 จัดการใน EJB ให้ใช้ง่ายขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีการเปลี่ยนชื่อจาก J2EE เป็น Java EE (Java Enterprise Edition) เพื่อลบภาพอันเลวร้ายของเดิมให้หมด และได้มีการนำฟีเจอร์เด็ดๆ ของ open source framework หลายๆ ตัว อย่างเช่นแกนหลักของ Spring อย่าง IoC (Inversion of Control) หรือ OR Mapping (Object Relational Mapping) ที่เป็นที่นิยมอย่าง Hibernate แต่ก็ไ

ลองเล่น Lambda Expression ฟีเจอร์เด่นใน Java 8

ประวัติความเป็นมาของ Lambda expression Lambda expression ไม่ใช่สิ่งแปลกใหม่ในวงการ ภาษาโปรแกรม ( Programming Language ) เพราะ lambda มันเป็นแกนหลักของ การเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชัน ( Functional Programming ) ซึ่งมีอายุมานานมากแล้ว แต่ Java เพิ่งนำเอาคุณสมบัตินี้เอามาใส่ลงในเวอร์ชัน 8 หากจะกล่าวถึงที่มาของ lambda คงต้องไปดูที่ถึงที่มาของ lambda calculus ซึ่งถูกสร้างขึ้นมาตั้งแต่ปี 1930 โดยนักคณิตศาสตร์ชาวอเมริกัน  Alonzo Church  เพื่อใช้ในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ที่มีความซับซ้อน ในบางครั้งสมการทางคณิตศาสตร์ที่ยาวไปอาจจะทำให้เกิดความซับซ้อนโดยใช่เหตุ lambda calculus จะทำการยุบบางส่วนของสมการนั้นออกมาเป็นฟังก์ชันย่อยๆ เพื่อทำให้สมการนั้นเข้าใจง่ายขึ้น ต่อมาหลักการของ lambda calculus ได้ถูกนำไปใช้ใน Turing Machine ซึ่งเป็นแบบจำลองในอุดมคติของ Alan Turing  ที่ต่อมากลายเป็นต้นแบบที่ถูกนำไปใช้ในการผลิต  Von Neumann Machine  ซึ่ง Von Neumann Machine ตัวนี้ได้กลายเป็นต้นแบบของคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกในเวลาต่อมา ท้ายที่สุดแนวคิดของ lambda calculus ก็ถูกนำมาแปลงเป็นภาษาโปรแกรมท

ลองเล่น SonarQube คลื่นโซนาร์ช่วยตรวจสอบคุณภาพของ code

SonarQube  คือเครื่องมือช่วยตรวจสอบคุณภาพของ source code ช่วยหาข้อบกพร่องใน source code ไม่ว่าจะเป็น Bug ที่น่าจะเกิดขึ้น ช่องโหว่ทางด้านความปลอดภัยหรือกลิ่นไม่ดีใน source code ของเรา (Code Smell) และ ช่วยตรวจสอบเราเขียน code ทดสอบครอบคลุมหรือดีแล้วยังยัง (code coverage) Code Smell ไม่ได้ใช้วัดว่า source code นี้สามารถทำงานได้ถูกต้อง มี bug หรือช่องโหว่หรือไม่ แต่ Code Smell ใช้วัดถึงคุณภาพของการออกแบบ เพื่อตรวจสอบว่า source code ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันจะสามารถต่อเติม แก้ไขหรือทดสอบได้ง่ายหรือไม่ โดยหลักเกณฑ์ที่นำมาใช้วัดในส่วนของ Code Smell คือ ความซ้ำซ้อนของ code มี code แบบเดียวกันไปซ้ำกันในไฟล์ไหนบ้าง ตรวจสอบเงื่อนไขใน if ให้ ว่าเงื่อนไขตรงนี้มันมีโอกาสเป็นไปได้ไหม เพราะบางทีเงื่อนไขที่เราเขียนขึ้นมาเพื่อดักไว้ในบางครั้งมันแทบจะไม่มีโอกาสที่เวลามันทำงานแล้วเข้าเงื่อนไขในส่วนนั้น เป็นต้น สามารถไปอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ http://www.somkiat.cc/code-smell-internal-class/ นอกจาก SonarQube จะสามารถบอกถึงคุณภาพของ source code เราได้แล้ว ยังสามารถใช้ในการแจกแจงงานให