Skip to main content

Sony แนะนำเครื่องปั่นไฟยามฉุกเฉินสำหรับอุปกรณ์พกพา


จำกันได้หรือเปล่าจากข่าวเก่า Powerpot หม้อต้มมหัศจรรย์ เปลี่ยนไฟแดงฉานเป็นพลังงานชาร์จมือถือ ! เป็นอุปกรณ์เพื่ออำนวยความสะดวกของคนที่ต้องเดินทางไปยังที่ไม่มีไฟฟ้าแต่ยังสามารถชาร์จมือถือได้

มาในวันนี้ Sony เอากับเค้าด้วยออกผลิตภัณฑ์ CP-A2LAKS USB Charger อุปกรณ์ตัวนี้จะไม่เหมือนกับ Powerpot ที่อาศัยการแปลงพลังงานความร้อนในการหุงต้มมาชาร์จมือถือ เพราะเจ้าตัว CP-A2LAKS จะใช้พลังงานมือจากการหมุนเพื่อแปลงเป็นพลังงานสำหรับชาร์จอุปกรณ์พกพา

โดย CP-A2LAKS สามารถเก็บประจุพลังงานได้สูงถึง 4,000 mAh ซึ่งเพียงพอสำหรับการชาร์จ Smart Phone ได้สองเครื่องพร้อมกัน ทาง Sony ได้บอกว่า CP-A2LAKS ใช้เวลาเพียงแค่ 130 นาทีเท่านั้นสำหรับการชาร์จ CP-A2LAKS ได้เต็ม (การชาร์จทำได้สองวิธีคือ ชาร์จกับไฟบ้าน หรือว่าหมุนมือ)


ซึ่งเชื่อว่าไม่มีใครมานั่งหมุนตั้ง 2 ชม. เพื่อชาร์จไฟหรอก เพราะจุดประสงค์ของ CP-A2LAKS สร้างมาเพื่อความต้องการชาร์จไฟในเวลาฉุกเฉิน โดยการปั่นไฟเพียง 5 นาทีก็จะทำให้เราสามารถใช้โทรศัพท์เพื่อโทรออกได้ 2 นาที หรือสามารถเล่นเว็บได้ 1 นาที

ใครสนใจอุปกรณ์เสริมชิ้นนี้ จะเปิดขายในเดือนมิถุนายนนี้ในราคา $100 และปิดท้ายด้วยรูป Fail ที่ผมเจอตอนไปตามอ่านต้นข่าวมาจาก Xperiablog ที่เหมือนว่า Ads จะฉลาด! รู้ว่าถ้าหากเราใช้มือหมุนเพื่อปั่นไฟวันละ 2 ชม. เราจะได้หุ่นดังรูปด้านล่าง
ที่มา Phandroid

Comments

Popular posts from this blog

ลองเล่นและเรียนรู้พื้นฐานขั้นต้นของ Spring Framework

** สำหรับใครที่ไม่เคยเรียนรู้ในด้านของ Java EE หรือ J2EE อาจจะมึนงงกับศัพท์หน่อยครับ ทำไมต้อง Spring Spring เป็น framework ที่นิยมมากในการนำไปสร้างระบบในระดับ enterprise ในเริ่มแรกที่ Spring เกิดมา มีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะมาแทนที่มาตรฐานของ Java อย่าง J2EE (Java 2 Enterprise Edition) ที่มันทั้งหน่วงทั้งอืดและยุ่งยาก โดยเฉพาะในส่วนของ EJB (Enterprise Java Bean) ที่ถือว่าเป็นฝันร้ายของนักพัฒนา ทำให้กูรูสาย Java ในช่วงนั้นถึงกับแนะนำว่า ถ้าจำเป็นที่ต้องพัฒนาระบบด้วย J2EE จงอย่าใช้ EJB ถึงขั้นถึงกับมีหนังสือแนะแนวทางการพัฒนาระบบ J2EE โดยไม่ใช้ EJB อย่างไรก็ตามทาง Sun ผู้เป็นเจ้าของ Java ในสมัยนั้น ถึงกับต้องมาล้างระบบ J2EE ใหม่ในปี 2006 จัดการใน EJB ให้ใช้ง่ายขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีการเปลี่ยนชื่อจาก J2EE เป็น Java EE (Java Enterprise Edition) เพื่อลบภาพอันเลวร้ายของเดิมให้หมด และได้มีการนำฟีเจอร์เด็ดๆ ของ open source framework หลายๆ ตัว อย่างเช่นแกนหลักของ Spring อย่าง IoC (Inversion of Control) หรือ OR Mapping (Object Relational Mapping) ที่เป็นที่นิยมอย่าง Hibernate แต่ก็ไ

ลองเล่น Lambda Expression ฟีเจอร์เด่นใน Java 8

ประวัติความเป็นมาของ Lambda expression Lambda expression ไม่ใช่สิ่งแปลกใหม่ในวงการ ภาษาโปรแกรม ( Programming Language ) เพราะ lambda มันเป็นแกนหลักของ การเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชัน ( Functional Programming ) ซึ่งมีอายุมานานมากแล้ว แต่ Java เพิ่งนำเอาคุณสมบัตินี้เอามาใส่ลงในเวอร์ชัน 8 หากจะกล่าวถึงที่มาของ lambda คงต้องไปดูที่ถึงที่มาของ lambda calculus ซึ่งถูกสร้างขึ้นมาตั้งแต่ปี 1930 โดยนักคณิตศาสตร์ชาวอเมริกัน  Alonzo Church  เพื่อใช้ในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ที่มีความซับซ้อน ในบางครั้งสมการทางคณิตศาสตร์ที่ยาวไปอาจจะทำให้เกิดความซับซ้อนโดยใช่เหตุ lambda calculus จะทำการยุบบางส่วนของสมการนั้นออกมาเป็นฟังก์ชันย่อยๆ เพื่อทำให้สมการนั้นเข้าใจง่ายขึ้น ต่อมาหลักการของ lambda calculus ได้ถูกนำไปใช้ใน Turing Machine ซึ่งเป็นแบบจำลองในอุดมคติของ Alan Turing  ที่ต่อมากลายเป็นต้นแบบที่ถูกนำไปใช้ในการผลิต  Von Neumann Machine  ซึ่ง Von Neumann Machine ตัวนี้ได้กลายเป็นต้นแบบของคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกในเวลาต่อมา ท้ายที่สุดแนวคิดของ lambda calculus ก็ถูกนำมาแปลงเป็นภาษาโปรแกรมท

ลองเล่น SonarQube คลื่นโซนาร์ช่วยตรวจสอบคุณภาพของ code

SonarQube  คือเครื่องมือช่วยตรวจสอบคุณภาพของ source code ช่วยหาข้อบกพร่องใน source code ไม่ว่าจะเป็น Bug ที่น่าจะเกิดขึ้น ช่องโหว่ทางด้านความปลอดภัยหรือกลิ่นไม่ดีใน source code ของเรา (Code Smell) และ ช่วยตรวจสอบเราเขียน code ทดสอบครอบคลุมหรือดีแล้วยังยัง (code coverage) Code Smell ไม่ได้ใช้วัดว่า source code นี้สามารถทำงานได้ถูกต้อง มี bug หรือช่องโหว่หรือไม่ แต่ Code Smell ใช้วัดถึงคุณภาพของการออกแบบ เพื่อตรวจสอบว่า source code ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันจะสามารถต่อเติม แก้ไขหรือทดสอบได้ง่ายหรือไม่ โดยหลักเกณฑ์ที่นำมาใช้วัดในส่วนของ Code Smell คือ ความซ้ำซ้อนของ code มี code แบบเดียวกันไปซ้ำกันในไฟล์ไหนบ้าง ตรวจสอบเงื่อนไขใน if ให้ ว่าเงื่อนไขตรงนี้มันมีโอกาสเป็นไปได้ไหม เพราะบางทีเงื่อนไขที่เราเขียนขึ้นมาเพื่อดักไว้ในบางครั้งมันแทบจะไม่มีโอกาสที่เวลามันทำงานแล้วเข้าเงื่อนไขในส่วนนั้น เป็นต้น สามารถไปอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ http://www.somkiat.cc/code-smell-internal-class/ นอกจาก SonarQube จะสามารถบอกถึงคุณภาพของ source code เราได้แล้ว ยังสามารถใช้ในการแจกแจงงานให