Skip to main content

[วิเคราะห์] มือถือ Android ต้องการ RAM ถึง 2GB หรือไม่


จากข่าวเก่าที่บอกว่า Galaxy S3 ในญี่ปุ่นจะมาพร้อมกับ RAM 2GB  ซึ่ง LG เพื่อนร่วมชาติของ Samsung ก็ไม่น้อยหน้า เปิดตัว Optimus LTE2 ในเกาหลีที่จะมาพร้อมกับ RAM 2GB เช่นกัน และอีกข่าวนึงที่บอกว่า Samsung กำลังพยายามผลักดันให้ RAM 2GB ให้กับสินค้ารุ่นเรือธงของตัวเอง เป็นเหมือนสัญญาณบ่งบอกว่าตลาดมือถือ Android ครึ่งปีหลังแต่ละค่าย อาจจะยัด RAM มาให้ถึง 2GB ในสินค้ารุ่นเรือธงของตัวเอง

ซึ่งมันก็จะมีคำถามตามมาว่า มันจำเป็นหรือที่มือถือ Android ต้องการ RAM ถึง 2GB เนื่องจากว่าพวกเราเองก็ยังไม่เคยเห็นมือถือ Android ที่มี RAM ถึง 2GB เราจึงยังไม่รู้ว่าเมื่อ RAM มันเยอะขึ้นมันจะทำให้มือถือเราเร็วขึ้นเหมือนอย่างควรจะที่เป็นในคอมพิวเตอร์หรือเปล่า

โดยทั่วไปแล้วในคอมพิวเตอร์ เมื่อเราเพิ่ม RAM ให้กับมันเราจะรู้สึกว่าคอมพิวเตอร์เราแรงขึ้น ดังนั้นสิ่งที่เราหวังให้มันเกิดขึ้นเมื่อ RAM เพิ่มขึ้นคือ
  • ประสิทธิภาพของ multi-tasking เพิ่มขึ้นเมื่อเราเปิดแอพเยอะๆ จะได้ไม่เป็นเหมือนในข่าวนี้ HTC เผย แอบปรับเปลี่ยนระบบ MultiTasking เพื่อให้ประหยัดแบต ส่งผลแอพฯแบคกราวด์ปิดตัวเองบ่อย 
  • สามารถเปิด tab บนบราวเซอร์ได้เยอะขึ้น หรือแม้กระทั่งสามารถเล่นเกมส์ Facebook โดยผ่าน Flash Player ได้สบายๆ 
  • และอีกอย่างนึงที่หวังเป็นที่สุด เมื่อ RAM เยอะขึ้นหวังว่ามันคงจะพอสำหรับ Launcher (อย่าง Sense UI) หรือ Live Wallpaper จนทำให้สามารถทำงานได้โดยไม่มีกระตุก (ตรงนี้หวังว่านักพัฒนาจะปรับปรุง UI หรือ Live Wallpaper ให้กิน RAM น้อยๆ ดีกว่า)

จากความหวังข้างบน มันยังเป็นแค่สมมติฐาน แต่มันจะเป็นจริงหรือไม่รอดูตอนที่ RAM 2GB บน Android ออกมาจริงๆ นอกจากที่กล่าวมาด้านบนแล้ว RAM 2GB ยังมีความจำเป็นมากกับระบบ Desktop ที่ Motorola พยายามทำอยู่อย่าง Webtop 3.0 หรือ ASUS ที่พยายามแปลง Android 4.0 ใน Transformer Prime ให้ผู้ใช้ได้รับประสบการณ์ที่ใกล้เคียงกับคอมพิวเตอร์ยิ่งขึ้น


ซึ่งสิ่งที่ Motorola กับ ASUS ทำนั้นยังถือว่าไม่ดีพอ เพราะว่า RAM ที่น้อยเกินไป ทำให้การที่จะเอามาใช้แทนคอมพิวเตอร์ดูไม่ราบรื่น ซึ่งแนวทางที่กล่าวมานั้นเรียกได้ว่าค่อนข้างตรงแนวคิด (Concept) ของสิ่งที่ Google อยากทำ (Chrome OS) แต่เราคงต้องรอดู Android 5.0 (Jelly Bean) ที่กำลังจะออกมาว่าฟีเจอร์ทาง Software และ Hardware ที่จะเป็นมาตรฐานให้กับ Android จะออกมาในทิศทางใด เหมือนที่ Galaxy Nexus ได้สร้างปรากฎหารณ์สร้างมาตรฐานไว้ให้กับตลาด Android

เราทำได้แค่รอลุ้นในงาน Google I/O ปลายเดือนหน้าว่าตลาด Android ในช่วงครึ่งปีหลังมีทิศทางเป็นยังไง (รอลุ้น new Nexus ทั้ง 5 ตัว)

แปลมาจาก Android and Me

ปล. ช่วงท้ายๆ แอบใส่ความคิดส่วนตัวลงไปด้วย

Comments

Popular posts from this blog

ลองเล่นและเรียนรู้พื้นฐานขั้นต้นของ Spring Framework

** สำหรับใครที่ไม่เคยเรียนรู้ในด้านของ Java EE หรือ J2EE อาจจะมึนงงกับศัพท์หน่อยครับ ทำไมต้อง Spring Spring เป็น framework ที่นิยมมากในการนำไปสร้างระบบในระดับ enterprise ในเริ่มแรกที่ Spring เกิดมา มีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะมาแทนที่มาตรฐานของ Java อย่าง J2EE (Java 2 Enterprise Edition) ที่มันทั้งหน่วงทั้งอืดและยุ่งยาก โดยเฉพาะในส่วนของ EJB (Enterprise Java Bean) ที่ถือว่าเป็นฝันร้ายของนักพัฒนา ทำให้กูรูสาย Java ในช่วงนั้นถึงกับแนะนำว่า ถ้าจำเป็นที่ต้องพัฒนาระบบด้วย J2EE จงอย่าใช้ EJB ถึงขั้นถึงกับมีหนังสือแนะแนวทางการพัฒนาระบบ J2EE โดยไม่ใช้ EJB อย่างไรก็ตามทาง Sun ผู้เป็นเจ้าของ Java ในสมัยนั้น ถึงกับต้องมาล้างระบบ J2EE ใหม่ในปี 2006 จัดการใน EJB ให้ใช้ง่ายขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีการเปลี่ยนชื่อจาก J2EE เป็น Java EE (Java Enterprise Edition) เพื่อลบภาพอันเลวร้ายของเดิมให้หมด และได้มีการนำฟีเจอร์เด็ดๆ ของ open source framework หลายๆ ตัว อย่างเช่นแกนหลักของ Spring อย่าง IoC (Inversion of Control) หรือ OR Mapping (Object Relational Mapping) ที่เป็นที่นิยมอย่าง Hibernate แต่ก็ไ...

ลองเล่น SonarQube คลื่นโซนาร์ช่วยตรวจสอบคุณภาพของ code

SonarQube  คือเครื่องมือช่วยตรวจสอบคุณภาพของ source code ช่วยหาข้อบกพร่องใน source code ไม่ว่าจะเป็น Bug ที่น่าจะเกิดขึ้น ช่องโหว่ทางด้านความปลอดภัยหรือกลิ่นไม่ดีใน source code ของเรา (Code Smell) และ ช่วยตรวจสอบเราเขียน code ทดสอบครอบคลุมหรือดีแล้วยังยัง (code coverage) Code Smell ไม่ได้ใช้วัดว่า source code นี้สามารถทำงานได้ถูกต้อง มี bug หรือช่องโหว่หรือไม่ แต่ Code Smell ใช้วัดถึงคุณภาพของการออกแบบ เพื่อตรวจสอบว่า source code ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันจะสามารถต่อเติม แก้ไขหรือทดสอบได้ง่ายหรือไม่ โดยหลักเกณฑ์ที่นำมาใช้วัดในส่วนของ Code Smell คือ ความซ้ำซ้อนของ code มี code แบบเดียวกันไปซ้ำกันในไฟล์ไหนบ้าง ตรวจสอบเงื่อนไขใน if ให้ ว่าเงื่อนไขตรงนี้มันมีโอกาสเป็นไปได้ไหม เพราะบางทีเงื่อนไขที่เราเขียนขึ้นมาเพื่อดักไว้ในบางครั้งมันแทบจะไม่มีโอกาสที่เวลามันทำงานแล้วเข้าเงื่อนไขในส่วนนั้น เป็นต้น สามารถไปอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ http://www.somkiat.cc/code-smell-internal-class/ นอกจาก SonarQube จะสามารถบอกถึงคุณภาพของ source code เราได้แล้ว ยังสามารถใช้ในการแจกแจงง...

Inversion of Control และ Dependency Injection

Inversion of Control (IoC) คืออะไร IoC เป็นทฤษฏีที่ว่าด้วย การลดความผูกมัด (dependency) กันในระหว่าง module เพื่อให้ application ของเราแก้ไข (maintain) ต่อเติม (extensible) หรือทดสอบ (test) ได้ง่ายขึ้น ซึ่งเอาจริงๆ IoC เป็นอะไรที่ทำให้เราสับสนและงุนงงมากๆ ว่ามันคืออะไร หลายๆ คนจึงยกให้ว่า IoC คือ Dependency Injection (DI) ซึ่งจริงๆ มันก็ไม่ถูกซะทีเดียว  Dependency คืออะไร Dependency คือการผูกมัดที่เกิดขึ้นในระบบ เมื่อ module นึงมีการเรียกใช้อีก module นึงด้วยการอ้างอิง (reference) ตรงๆ แล้วอะไรที่เรียกว่าการ อ้างอิง (Reference) แบบตรงๆ   อย่างภาพ diagram ด้านบน class LogEngine มีการเรียกใช้ ConsoleLog โดยตรง ซึ่งมองผ่าน diagram อาจจะไม่เห็นภาพลองดู code กัน public class ConsoleLog { public void openLog(){ //do something to open log } public void log(String message){ //do something to log } public void closeLog(){ //do something to close log } } public class LogEngine { private ConsoleLog log; public LogEng...