Skip to main content

ว่าด้วยเรื่องการเรียนภาษาอังกฤษตลอดชีวิตที่ผ่านมาของข้าพเจ้า


ตั้งแต่จำความได้ เจอกับภาษาอังกฤษมาตั้งแต่อนุบาล เริ่มแรกด้วยการท่อง A-Z พอมาขึ้นชั้นประถม ได้ห่างหายจากการเรียนภาษาอังกฤษไปพักนึง เพราะว่าโรงเรียนที่ผมเรียนนั้นเป็นโรงเรียนที่เน้นภาษาจีนหรือที่คนทั่วไปเรียกว่าโรงเรียนจีน (โรงเรียนมูลนิธิยะลาบำรุง) ต้องเรียนภาษาจีนตั้งแต่ ป.1 - ป.6 ซึ่งทางโรงเรียนสนับสนุนให้เรียนภาษาจีนอย่างเต็มที่ โดยมีการแจกทุนการศึกษาให้กับคนที่สอบภาษาจีนได้ที่หนึ่งถึงสามในแต่ละห้อง (นับเฉพาะภาษาจีนอย่างเดียวไม่นับวิชาอื่นเข้ามาร่วมด้วย)

แม่ผมเค้าอยากให้ผมได้ภาษาจีน เลยส่งให้เรียนโรงเรียนนี้ และยังให้ไปเรียนพิเศษภาษาจีนเสริมอีกตั้งแต่ตอน ป. 2 จนถึง ป. 6

เชื่อว่าคนที่อ่านอยู่คงสงสัยว่า ผมเรียนมาตั้ง 6 ปี ตอนนี้พูดภาษาจีนได้ไหม ต้องบอกตรงๆ ว่าลืมไปหมดแล้ว ทั้งๆ ที่ตอนเรียนได้ทุนการศึกษาบ่อยมาก เพราะสอบภาษาจีนได้ที่หนึ่ง แต่มันก็ไม่ได้ช่วยให้ผมพูดได้ ผิดกับแม่ผมได้เรียนภาษาจีนถึงแค่ ป. 4 แต่แกก็ยังพูดได้ = =

หลายคนอาจจะงงว่าในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้มันมีโรงเรียนที่เน้นสอนภาษาจีนด้วยหรอ เพราะส่วนใหญ่เชื่อว่าหลายคนคงจะได้ยินแต่โรงเรียนสอนภาษาอิสลาม ที่ยะลานอกจากจะมีโรงเรียนจีนแล้ว ยังมีโรงเรียนในศาสนาคริสต์ด้วย อยากรู้ว่ายะลาเป็นยังไงลองตามไปอ่านในบทความของคุณ แพร  ศิริศักดิ์ดำเกิง ตอนที่ หนึ่ง สอง และ สาม ครับ

กลับมาที่เรื่องภาษาอังกฤษกันต่อ ถึงแม้ผมจะเรียนโรงเรียนจีน แต่ใช่ว่าเค้าจะไม่สอนภาษาอังกฤษ มาเจอมันอีกทีตอน ป.5 ป.6 ตอนนั้นจำได้น่าจะเรียนเกี่ยวกับ Persent Simple Tense และ Past Simple Tense นี่แหละ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเติม s/es และ d/ed หลังกิริยา นั่งท่องจำกิริยาสามช่อง ซึ่งตอนนี้ลืมไปหมดแล้ว

พอขึ้นมาในชั้นมัธยมต้น (ปี 2540) ถ้าจำไม่ผิดน่าจะเน้นไปยัง Tense ทั้ง 12 แต่จำไม่ได้ว่ารวมถึง Passive voices ด้วยหรือเปล่า ตอนนั้นจำได้ว่าเกรดวิชาภาษาอังกฤษอยู่ในระดับกลางๆ ตอนเรียนมันรู้สึกว่าง่ายมั้ง แค่นั่งจำ Pattern ของ Tense แค่อย่างเดียว แล้วเอาไปตอบในข้อสอบ แต่เชื่อมโยงไม่เป็นว่าจะต้องเอาในใช้ในตอนไหน สอบเสร็จก็ไม่ได้สนใจอะไร เรียนจบก็ลืม

พอขึ้น ม. ปลาย (ปี 2543) ถ้าจำไม่ผิด จะเรียนเกี่ยวองค์ประกอบต่างๆ ของ Sentence (ประโยค) พวก Phrase, Article, If Clause และอื่นๆ ช่วงนั้นรู้สึกว่าภาษาอังกฤษของตัวเองนั้น Suck Seed มาก (ห่วยขั้นเทพ) เนื่องจากพื้นฐานพวก Tense ต่างๆ จาก ม.ต้น นั้นแย่มาก เพราะเรียนไปเพื่อแค่สอบผ่าน สอบเสร็จแล้วลืมเลย พอมา ม.ปลาย เหมือนเอาสิ่งที่เรียนจาก ม.ต้น ที่เป็นพื้นฐานมาต่อยอด ทำให้เป็นช่วงที่เรียนภาษาอังกฤษแล้วรู้สึกเหมือนฝันร้าย ข้อสอบที่พอทำได้ในตอนนั้น คือ Reading อ่าน Paragraph แล้วจับใจความจากแหล่งคำศัพท์ที่มีอยู่ในหัวแล้วแปลมั่วๆ เอา

หลังจากจบ ม.6 ผมก็ไปต่อ ปวส. เพราะว่า Entrance ไม่ติด ทำให้รู้ว่าภาษาอังกฤษของฝั่งสายอาชีพนี่ง่ายกว่าสายสามัญเยอะ นอกจากภาษาอังกฤษที่ผมมองว่ามันง่ายแล้ว วิชาคณิตศาตร์และวิทยาศาสตร์ ผมก็มีความรู้สึกเหมือนเรียนคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ของ ม.6 อีกครั้งแต่เป็นในระดับที่ง่ายขึ้นกว่าของ ม.6 เยอะ (อาจจะเป็นเพราะเคยเรียนมาก่อน)

ทำให้ผมไม่แปลกเลยว่าทำไมนักเรียนสายอาชีพ (ปวช.) เวลาเรียนในมหาวิทยาลัยตอนปีหนึ่งถึงเหมือนเป็นฐานคะแนนให้กับเด็กสายสามัญ (ม.ปลาย) เพราะหลักสูตรการศึกษาที่มันไม่เท่ากันนี่เอง

ตอนที่ผมเรียนม. ปลายอยู่ เด็กยะลานี่ เรียกได้ว่า บ้าเรียนพิเศษ หลังเลิกเรียนสี่โมงเย็น ก็จะพากันขับรถเครื่อง (มอเตอร์ไซค์) ไปเรียนพิเศษ เรียนวิชา ฟิสิกส์ เคมี คณิต เรียนวิชาละ ชม. เลิกอีกทีก็เกือบสองทุ่ม พอเสาร์อาทิตย์ พวกที่ฟิตหน่อยก็ไปเรียนอังกฤษ และชีวะ อีก ฟังดูแล้วเหนื่อยแทน = = ซึ่งผมก็เคยอยู่ในวังวนนั้น แต่พบว่ามันไม่ได้ทำให้การเรียนของผมดีขึ้นเลย

ความขยันเรียนนี้ ไม่ได้มีแต่เฉพาะเด็กสายวิทย์-คณิตเท่านั้น ผมเห็นเด็กเทคนิคยะลาที่เรียน อิเล็กทรอนิก บางคนที่เค้าก็มาเรียนพิเศษกับเค้าด้วย อย่างวิชา คณิตศาสตร์ และ ฟิสิกส์ เพราะหลักสูตรของสายอาชีพไม่เน้นเท่าสายสามัญ แต่เวลาสอบ Entrance ต้องไปสอบรวมกับสายสามัญ ทำให้สู้เค้าไม่ได้จึงต้องเรียนพิเศษเพิ่ม ถึงแม้ว่าจะมีมหาลัยในเครือพระจอมเกล้าจะเปิดรับสอบตรงก็เหอะ

กลับมาที่ภาษาอังกฤษกันต่อหลังจากที่ผมเรียนจบ ปวส. ได้เข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัย ภาษาอังกฤษที่ผมได้พบนี้ เหมือนจะไม่ได้ไปพูดถึงในเรื่อง Tense กันแล้ว หรือพวก Phrase เพราะว่าเอาสิ่งที่เราเรียนมาทั้งหมดนั้น มาประกอบกันให้เป็นประโยคที่ดู หะ-รูหะ-รา(หรูหรา) ยิ่งขึ้น

คือเน้นการเขียน Sentence และสอนเกี่ยวกับพวก IC, DC และ Conjunction ที่เอาไว้เชื่อมต่อระหว่าง IC และ DC เอา Phrase มาใช้เสริมตกแตงประโยค อะไรประมาณนี้ จากนั้นก็สอนการเขียนเรียงความ โดยเอาหลักการเขียน Sentence ที่เค้าใช้สอนเอามาแต่งเขียนเรียงความ

ตอนนั้นการบ้านระหว่างเรียนจะให้หัวข้อไปเขียนเรียงความ โดยเรียงความที่เขียนไปส่งนั้น จำได้เลยว่าโดนวงกลมจุดผิดสีแดงเยอะมาก เพราะเวลาผมทำการบ้าน ผมจะแต่งเรื่องเป็นภาษาไทยก่อน พอแต่งเสร็จก็จะย้อนกลับไปให้มันกลายเป็นภาษาอังกฤษ ด้วยความว่าพื้นฐานเรื่อง Tense ของเรานี้กากมาก เรื่องที่เป็นอดีตเราเขียนออกมาใน Present Simple Tense ทั้งหมด

พอรอบต่อมาก็ฉลาดขึ้น เวลาจะเล่าเรื่องในอดีต ก็จะหันมาใช้ V ช่องสอง แต่ใช่ว่าวงกลมสีแดงจะลดลง จะโดนเรื่อง Article ตลอดเพราะว่า Noun จะใช้โดดๆ ไม่ได้นะอย่างน้อยก็ต้องมีอะไรนำหน้าอยู่ด้วยตลอด และก็เป็นจุดผิดจนมาถึงตอนนี้ (เรื่องที่ฟังดูเหมือนง่าย แต่เชื่อว่าหลายคนก็คงผิดเหมือนผม) นอกจากนี้ก็เขียนประโยคผิดไวยกรณ์บ่อย อย่างเช่น เขียน Verb ติดกันสองตัว ซึ่งตามหลักไวยกรณ์ของภาษาอังกฤษมันไม่ให้เขียน เช่น
เขาต้องการนอน
ผมเขียนทื่อๆ ด้วยความจ๊าดง่าว แบบนี้
He want sleep.
ซึ่งที่จริงมันควรจะเป็นแบบนี้
He wants to sleep.
ซึ่งตอนนั้นยอมรับเลย ไม่รู้ว่าทำไมต้องแปลงเป็นแบบนี้ และความที่พื้นฐานไม่แน่น และอาจารย์เค้าจะไม่ได้มานั่งสาธยายสอนให้ฟังหรอก ทำให้ตอนนี้คิดว่าตัวเองควรที่จะเรียนภาษาอังกฤษอย่างจริงๆ จังๆ ซักที ตอนแรกผมคิดว่าการเรียนภาษาอังกฤษ เรียนรู้แค่ Tense ทั้ง 12 แล้วก็มีคลังคำศัพท์อยู่ในหัวเยอะๆ ก็น่าจะพอแล้วสำหรับการอ่านหนังสือหรือบทความภาษาอังกฤษ แต่พอได้เรียนเสริมอย่างจริงๆ จังๆ พบว่ามันไม่พอ มันมีอะไรที่มากกว่านั้น

ในตอนต่อไปพบจะเล่าถึงประสบการณ์จากการเรียนภาษาอังกฤษจาก 3 สถาบันที่ผมได้ไปเรียนมา แต่ละที่เป็นยังไง และสำหรับเพื่อนๆ ที่คิดอยากจะเรียนจะได้เลือกถูกว่าที่ไหนเหมาะกับคุณ

Comments

Popular posts from this blog

ลองเล่นและเรียนรู้พื้นฐานขั้นต้นของ Spring Framework

** สำหรับใครที่ไม่เคยเรียนรู้ในด้านของ Java EE หรือ J2EE อาจจะมึนงงกับศัพท์หน่อยครับ ทำไมต้อง Spring Spring เป็น framework ที่นิยมมากในการนำไปสร้างระบบในระดับ enterprise ในเริ่มแรกที่ Spring เกิดมา มีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะมาแทนที่มาตรฐานของ Java อย่าง J2EE (Java 2 Enterprise Edition) ที่มันทั้งหน่วงทั้งอืดและยุ่งยาก โดยเฉพาะในส่วนของ EJB (Enterprise Java Bean) ที่ถือว่าเป็นฝันร้ายของนักพัฒนา ทำให้กูรูสาย Java ในช่วงนั้นถึงกับแนะนำว่า ถ้าจำเป็นที่ต้องพัฒนาระบบด้วย J2EE จงอย่าใช้ EJB ถึงขั้นถึงกับมีหนังสือแนะแนวทางการพัฒนาระบบ J2EE โดยไม่ใช้ EJB อย่างไรก็ตามทาง Sun ผู้เป็นเจ้าของ Java ในสมัยนั้น ถึงกับต้องมาล้างระบบ J2EE ใหม่ในปี 2006 จัดการใน EJB ให้ใช้ง่ายขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีการเปลี่ยนชื่อจาก J2EE เป็น Java EE (Java Enterprise Edition) เพื่อลบภาพอันเลวร้ายของเดิมให้หมด และได้มีการนำฟีเจอร์เด็ดๆ ของ open source framework หลายๆ ตัว อย่างเช่นแกนหลักของ Spring อย่าง IoC (Inversion of Control) หรือ OR Mapping (Object Relational Mapping) ที่เป็นที่นิยมอย่าง Hibernate แต่ก็ไ

ลองเล่น Lambda Expression ฟีเจอร์เด่นใน Java 8

ประวัติความเป็นมาของ Lambda expression Lambda expression ไม่ใช่สิ่งแปลกใหม่ในวงการ ภาษาโปรแกรม ( Programming Language ) เพราะ lambda มันเป็นแกนหลักของ การเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชัน ( Functional Programming ) ซึ่งมีอายุมานานมากแล้ว แต่ Java เพิ่งนำเอาคุณสมบัตินี้เอามาใส่ลงในเวอร์ชัน 8 หากจะกล่าวถึงที่มาของ lambda คงต้องไปดูที่ถึงที่มาของ lambda calculus ซึ่งถูกสร้างขึ้นมาตั้งแต่ปี 1930 โดยนักคณิตศาสตร์ชาวอเมริกัน  Alonzo Church  เพื่อใช้ในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ที่มีความซับซ้อน ในบางครั้งสมการทางคณิตศาสตร์ที่ยาวไปอาจจะทำให้เกิดความซับซ้อนโดยใช่เหตุ lambda calculus จะทำการยุบบางส่วนของสมการนั้นออกมาเป็นฟังก์ชันย่อยๆ เพื่อทำให้สมการนั้นเข้าใจง่ายขึ้น ต่อมาหลักการของ lambda calculus ได้ถูกนำไปใช้ใน Turing Machine ซึ่งเป็นแบบจำลองในอุดมคติของ Alan Turing  ที่ต่อมากลายเป็นต้นแบบที่ถูกนำไปใช้ในการผลิต  Von Neumann Machine  ซึ่ง Von Neumann Machine ตัวนี้ได้กลายเป็นต้นแบบของคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกในเวลาต่อมา ท้ายที่สุดแนวคิดของ lambda calculus ก็ถูกนำมาแปลงเป็นภาษาโปรแกรมท

ลองเล่น SonarQube คลื่นโซนาร์ช่วยตรวจสอบคุณภาพของ code

SonarQube  คือเครื่องมือช่วยตรวจสอบคุณภาพของ source code ช่วยหาข้อบกพร่องใน source code ไม่ว่าจะเป็น Bug ที่น่าจะเกิดขึ้น ช่องโหว่ทางด้านความปลอดภัยหรือกลิ่นไม่ดีใน source code ของเรา (Code Smell) และ ช่วยตรวจสอบเราเขียน code ทดสอบครอบคลุมหรือดีแล้วยังยัง (code coverage) Code Smell ไม่ได้ใช้วัดว่า source code นี้สามารถทำงานได้ถูกต้อง มี bug หรือช่องโหว่หรือไม่ แต่ Code Smell ใช้วัดถึงคุณภาพของการออกแบบ เพื่อตรวจสอบว่า source code ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันจะสามารถต่อเติม แก้ไขหรือทดสอบได้ง่ายหรือไม่ โดยหลักเกณฑ์ที่นำมาใช้วัดในส่วนของ Code Smell คือ ความซ้ำซ้อนของ code มี code แบบเดียวกันไปซ้ำกันในไฟล์ไหนบ้าง ตรวจสอบเงื่อนไขใน if ให้ ว่าเงื่อนไขตรงนี้มันมีโอกาสเป็นไปได้ไหม เพราะบางทีเงื่อนไขที่เราเขียนขึ้นมาเพื่อดักไว้ในบางครั้งมันแทบจะไม่มีโอกาสที่เวลามันทำงานแล้วเข้าเงื่อนไขในส่วนนั้น เป็นต้น สามารถไปอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ http://www.somkiat.cc/code-smell-internal-class/ นอกจาก SonarQube จะสามารถบอกถึงคุณภาพของ source code เราได้แล้ว ยังสามารถใช้ในการแจกแจงงานให