Skip to main content

Preview: Camangi Mangrove 7 แท็บแล็ต 7 นิ้วราคาถูกที่น่าทดลอง


Camangi Mangrove 7 แท็บแล็ตขนาด 7 นิ้วตัวนี้ ผมไปแฮบมาจากญาติ ที่เพิ่งซื้อมาจากงาน Commart เมื่อวันพฤหัสที่ผ่านมา เห็นญาติบอกว่าราคามันถูกดี (3990 บาท) จึงซื้อไปฝากหลานเครื่องนึง ซึ่งผมก็สงสัยว่ามันจะทนเรอะ ด้วยความสงสัยนั้นจึงได้ขอญาติเอาเครื่องมาตรวจสอบ (โดยอ้างว่าจะเอาลงแอพ ลงเกมส์ให้หลาน)


เมื่อพลิกดูข้างหลังกล่อง พบว่าฮาร์ดแวร์ของมันค่อนข้างที่จะดีเลยทีเดียว เพราะมันมาพร้อมกับชิปเซ็ต CPU จาก nVIDIA Tegra T20 (เป็นตัวเดียวที่ใช้ใน ASUS Eee Pad Transformer รุ่นแรก) หลังจากนั้นผมจึงลองไล่ตรวจสอบข้อเท็จจริง ไล่สืบหาประวัติและที่มาของเจ้าแท็บแล็ตตัวนี้ดู พบว่าเป็นแท็บแล็ตที่ดูค่อนข้างน่าเชื่อถือ

ผมพบว่าแท้จริงแล้ว Camangi Mangrove 7 นั้นก็คือ ViewSonic ViewPad 7x ที่เปลี่ยนชื่อมานั่นเอง (จากข่าวนี้) ซึ่งถ้าหากเป็นเช่นนั้นจริงก็วางใจได้เรื่องการประกอบ เพราะ ViewSonic มักจะให้ Foxconn เป็นผู้ผลิตแท็บแล็ต



หลังจากที่ได้ลองเล่นดูพบว่าระบบลื่นไหลดี แต่มีเรื่องให้แปลกใจอย่างหนึ่ง ผมไม่สามารถติดตั้งแอพ nVIDIA TegraZone มันบอกว่าแท็บแล็ตของเราไม่รองรับ แต่เท่าที่ผมลองโหลดเกมส์ที่ออกแบบมาเพื่อชิปเซ็ต nVIDIA โดยเฉพาะ (THD) พบว่ามันสามารถโหลดได้ เล่นได้โดยไม่มีปัญหาอะไร ผมคาดว่าแอพ nVIDIA TegraZone จะสามารถติดตั้งได้กับเครื่องที่ผู้ผลิตได้ดีลกับทาง nVIDIA ไว้แล้วเท่านั้น ทำให้แท็บแล็ต Mangrove 7 ไม่สามารถโหลดแอพ nVIDIA TegraZone ได้

บังเอิญว่าช่วงที่ผมได้ลองเล่นเครื่อง Mangrove 7 เป็นช่วงเดียวกับที่ผมกำลังรีวิวมือถือ i-mobile i-Style Q2 Duo พอดี และตอนนั้นผมกำลังให้เพื่อนที่ทำงานช่วยทดสอบกล้องของ Q2 Duo ผมเลยถือโอกาสให้เพื่อช่วยทดสอบกล้องของ Mangrove 7 นี้ด้วย ทำให้ผมพบว่ากล้องของเจ้าตัว Mangrove 7 มัน Touch Focus ไม่ได้!

ทั้งที่กล่องมันเขียนมาว่าเป็นระบบ Auto Focus จากที่ผมลองกดถ่ายดูพบว่ามันจะ Auto Focus ให้เฉพาะตอนกดถ่ายรูปเท่านั้น ไม่สามารถเลือกจุดที่จะโฟกัสได้ แต่ภาพที่ถ่ายออกมาถือว่าดูดีเลยทีเดียว ถึงแม้ว่าอาจจะต้องถ่ายหลายๆ ครั้งเพื่อจะได้จุดโฟกัสที่ต้องการ (ตามไปดูทั้งหมดได้จากที่นี่)







เรื่องของการถ่ายภาพวิดีโอ สามารถถ่ายได้ด้วยความละเอียดสูงถึง 720p สามารถดูตัวอย่างได้ตามวิดีโอด้านล่างครับ เช่นเคยวิดีโอที่ถ่ายเป็นวิดีโอเบื้องหลังการทดสอบการถ่ายภาพมือถือ Q2 Duo ซึ่งตอนนี้กำลังตัดต่อวิดีโออยู่ จะได้พบกับรีวิวฉบับเต็มได้เร็วๆ นี้


ข้อเสีย

  • ถ้าใช้งานแบบจริงๆ จังๆ เล่นเกมส์แบบโหดๆ ผมพบว่าแบตมันอยู่ไม่ทน ซัก 2 ชั่วโมงก็หมดแล้ว 
  • กล้องมัน Touch Focus ไม่ได้
  • ชิปเซ็ต Tegra 2 ไม่รองรับการเล่นวิดีโอ H.264 High Profile ถ้าเราจะเอาหนังมาดูบนเครื่องเราต้องแปลงหนังให้กลายเป็นแบบ H.264 Low Profile จะได้ไม่มีปัญหา
ข้อดี
  • ระบบลื่นไหลดี
  • ชิปเซ็ต Tegra 2 สามารถรองรับการเล่นเกมส์ HD อย่าง THD ได้
  • ราคาถูกมากกก 
สรุป
เหมาะสำหรับคนที่อยากได้แท็บแล็ตสำหรับอ่านหนังสือ eBook, เล่นเกมส์ หรืออยากลองเล่นแท็บแล็ต Android ดู Camangi Mangrove 7 ถือเป็นตัวเลือกที่ดีครับ



Comments

Popular posts from this blog

ลองเล่นและเรียนรู้พื้นฐานขั้นต้นของ Spring Framework

** สำหรับใครที่ไม่เคยเรียนรู้ในด้านของ Java EE หรือ J2EE อาจจะมึนงงกับศัพท์หน่อยครับ ทำไมต้อง Spring Spring เป็น framework ที่นิยมมากในการนำไปสร้างระบบในระดับ enterprise ในเริ่มแรกที่ Spring เกิดมา มีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะมาแทนที่มาตรฐานของ Java อย่าง J2EE (Java 2 Enterprise Edition) ที่มันทั้งหน่วงทั้งอืดและยุ่งยาก โดยเฉพาะในส่วนของ EJB (Enterprise Java Bean) ที่ถือว่าเป็นฝันร้ายของนักพัฒนา ทำให้กูรูสาย Java ในช่วงนั้นถึงกับแนะนำว่า ถ้าจำเป็นที่ต้องพัฒนาระบบด้วย J2EE จงอย่าใช้ EJB ถึงขั้นถึงกับมีหนังสือแนะแนวทางการพัฒนาระบบ J2EE โดยไม่ใช้ EJB อย่างไรก็ตามทาง Sun ผู้เป็นเจ้าของ Java ในสมัยนั้น ถึงกับต้องมาล้างระบบ J2EE ใหม่ในปี 2006 จัดการใน EJB ให้ใช้ง่ายขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีการเปลี่ยนชื่อจาก J2EE เป็น Java EE (Java Enterprise Edition) เพื่อลบภาพอันเลวร้ายของเดิมให้หมด และได้มีการนำฟีเจอร์เด็ดๆ ของ open source framework หลายๆ ตัว อย่างเช่นแกนหลักของ Spring อย่าง IoC (Inversion of Control) หรือ OR Mapping (Object Relational Mapping) ที่เป็นที่นิยมอย่าง Hibernate แต่ก็ไ

ลองเล่น Lambda Expression ฟีเจอร์เด่นใน Java 8

ประวัติความเป็นมาของ Lambda expression Lambda expression ไม่ใช่สิ่งแปลกใหม่ในวงการ ภาษาโปรแกรม ( Programming Language ) เพราะ lambda มันเป็นแกนหลักของ การเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชัน ( Functional Programming ) ซึ่งมีอายุมานานมากแล้ว แต่ Java เพิ่งนำเอาคุณสมบัตินี้เอามาใส่ลงในเวอร์ชัน 8 หากจะกล่าวถึงที่มาของ lambda คงต้องไปดูที่ถึงที่มาของ lambda calculus ซึ่งถูกสร้างขึ้นมาตั้งแต่ปี 1930 โดยนักคณิตศาสตร์ชาวอเมริกัน  Alonzo Church  เพื่อใช้ในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ที่มีความซับซ้อน ในบางครั้งสมการทางคณิตศาสตร์ที่ยาวไปอาจจะทำให้เกิดความซับซ้อนโดยใช่เหตุ lambda calculus จะทำการยุบบางส่วนของสมการนั้นออกมาเป็นฟังก์ชันย่อยๆ เพื่อทำให้สมการนั้นเข้าใจง่ายขึ้น ต่อมาหลักการของ lambda calculus ได้ถูกนำไปใช้ใน Turing Machine ซึ่งเป็นแบบจำลองในอุดมคติของ Alan Turing  ที่ต่อมากลายเป็นต้นแบบที่ถูกนำไปใช้ในการผลิต  Von Neumann Machine  ซึ่ง Von Neumann Machine ตัวนี้ได้กลายเป็นต้นแบบของคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกในเวลาต่อมา ท้ายที่สุดแนวคิดของ lambda calculus ก็ถูกนำมาแปลงเป็นภาษาโปรแกรมท

ลองเล่น SonarQube คลื่นโซนาร์ช่วยตรวจสอบคุณภาพของ code

SonarQube  คือเครื่องมือช่วยตรวจสอบคุณภาพของ source code ช่วยหาข้อบกพร่องใน source code ไม่ว่าจะเป็น Bug ที่น่าจะเกิดขึ้น ช่องโหว่ทางด้านความปลอดภัยหรือกลิ่นไม่ดีใน source code ของเรา (Code Smell) และ ช่วยตรวจสอบเราเขียน code ทดสอบครอบคลุมหรือดีแล้วยังยัง (code coverage) Code Smell ไม่ได้ใช้วัดว่า source code นี้สามารถทำงานได้ถูกต้อง มี bug หรือช่องโหว่หรือไม่ แต่ Code Smell ใช้วัดถึงคุณภาพของการออกแบบ เพื่อตรวจสอบว่า source code ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันจะสามารถต่อเติม แก้ไขหรือทดสอบได้ง่ายหรือไม่ โดยหลักเกณฑ์ที่นำมาใช้วัดในส่วนของ Code Smell คือ ความซ้ำซ้อนของ code มี code แบบเดียวกันไปซ้ำกันในไฟล์ไหนบ้าง ตรวจสอบเงื่อนไขใน if ให้ ว่าเงื่อนไขตรงนี้มันมีโอกาสเป็นไปได้ไหม เพราะบางทีเงื่อนไขที่เราเขียนขึ้นมาเพื่อดักไว้ในบางครั้งมันแทบจะไม่มีโอกาสที่เวลามันทำงานแล้วเข้าเงื่อนไขในส่วนนั้น เป็นต้น สามารถไปอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ http://www.somkiat.cc/code-smell-internal-class/ นอกจาก SonarQube จะสามารถบอกถึงคุณภาพของ source code เราได้แล้ว ยังสามารถใช้ในการแจกแจงงานให