Skip to main content

ARM ประกาศเปิดตัว Cortex-A50 Series ที่มาพร้อมกับเทคโนโลยี 64 bit


เมื่อสองปีที่แล้ว ARM ได้ประกาศให้เราได้รู้จักกับสถาปัตยกรรม Cortex-A15 จนกระทั่งในวันนี้สถาปัตยกรรม Cortex-A15 เริ่มมีผู้ผลิตนำมาใช้จริงๆ กับอุปกรณ์ Android แล้ว ซึ่งอุปกรณ์ที่ว่านี้ก็คือแท็บแล็ตจาก Google อย่าง Nexus 10 นั่นเอง ถึงแม้ว่ามันจะมาพร้อมกับชิปเซ็ต Exynos 5250 ที่มี CPU ระดับ dual-core แต่คะแนน benchmark ก็แซง CPU ระดับ quad-core ที่ใช้สถาปัตยกรรที่ตำกว่าอย่าง Cortex-A9 - อ้างอิงจาก theandroidsoul


และในสัปดาห์นี้ทาง ARM ได้ประกาศสถาปัตยกรรมใหม่อย่าง Cortex-A50 Series ซึ่งจะมาพร้อมกับสถาปัตยกรรม CPU 64 bit และมาพร้อมกับชุดคำสั่งใหม่อย่าง ARMv8 ซึ่งการันตีว่าจะประหยัดพลังมากขึ้น โดยคาดกันว่าเราจะเริ่มได้เห็นชิปเซ็ตรุ่นใหม่ๆ ที่ใช้สถาปัตยกรรม Cortex-A50 ภายในปี 2014

ครอบครัวของสถาปัตยกรรม Cortex-A50 Series จะประกอบไปด้วย Cortex-A57 และ Cortex-A53 โดยทั้งสองตัวนี้จะมีความสามารถที่เรียกว่า big.LITTLE ซึ่งทาง ARM กล่าวว่ามันจะช่วยให้ประหยัดพลังงานได้มากขึ้น 70%


หลักการทำงานโดยคร่าวๆ ของ big.LITTLE ถ้าหากมีการร้องขอทรัพยากรมากๆ CPU ชุดหลักจะทำงานอย่างเต็มความสามารถ (ในรูปยกตัวอย่างเป็น ARM Cortex-A15) แต่ถ้าหากเครื่องอยู่ในโหมด stand by หรือว่าไม่มีการมีการร้องขอทรัพยากรอะไร CPU หลักก็จะไปเรียก CPU สำรองให้มาทำงานแทน (ในรูปยกตัวอย่างเป็น ARM Cortex-A7) หลักการนี้จะเหมือนกับความสามารถ 4-PLUS-1 ในชิปเซ็ตของ NIVDIA Tegra3

โดย Cortex-A57 จะทำตัวเป็นพี่ใหญ่เวลามีการทำงานหนักๆ หรือมีการเรียกใช้ทรัพยากรมากๆ พี่ใหญ่อย่าง Cortex-A57 จะออกหน้ารับแทนน้องเล็กอย่าง Cortex-A53 แต่ถ้าหากเวลาใดที่ไม่มีการทำงานหนักๆ อย่างเช่นในโหมด stand by หรือรัน apps ที่ไม่มีการเรียกใช้ทรัพยากรที่มาก Cortex-A53 ก็จะออกมาทำงานแทนพี่ใหญ่ โดยน้องเล็กจะมีอัตราการใช้พลังงานที่น้อยกว่า Cortex-A57 มาก ทำให้หน่วยประมวลผลใช้พลังลดลงมากสุด 70%

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น Cortex-A57 และ Cortex-A53 สามารถแยกตัวเพื่อทำงานโดยอิสระได้ โดย Cortex-A57 จะออกแบบเพื่อประสิทธิภาพการทำงานที่สูงสุด ส่วน Cortex-A53 จะเน้นในเรื่องการประหยัดพลังงาน

ปิดท้ายด้วยวิดีโอโปรโมท Cortex-A50 Series



ที่มา Android Central

Comments

Popular posts from this blog

ลองเล่นและเรียนรู้พื้นฐานขั้นต้นของ Spring Framework

** สำหรับใครที่ไม่เคยเรียนรู้ในด้านของ Java EE หรือ J2EE อาจจะมึนงงกับศัพท์หน่อยครับ ทำไมต้อง Spring Spring เป็น framework ที่นิยมมากในการนำไปสร้างระบบในระดับ enterprise ในเริ่มแรกที่ Spring เกิดมา มีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะมาแทนที่มาตรฐานของ Java อย่าง J2EE (Java 2 Enterprise Edition) ที่มันทั้งหน่วงทั้งอืดและยุ่งยาก โดยเฉพาะในส่วนของ EJB (Enterprise Java Bean) ที่ถือว่าเป็นฝันร้ายของนักพัฒนา ทำให้กูรูสาย Java ในช่วงนั้นถึงกับแนะนำว่า ถ้าจำเป็นที่ต้องพัฒนาระบบด้วย J2EE จงอย่าใช้ EJB ถึงขั้นถึงกับมีหนังสือแนะแนวทางการพัฒนาระบบ J2EE โดยไม่ใช้ EJB อย่างไรก็ตามทาง Sun ผู้เป็นเจ้าของ Java ในสมัยนั้น ถึงกับต้องมาล้างระบบ J2EE ใหม่ในปี 2006 จัดการใน EJB ให้ใช้ง่ายขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีการเปลี่ยนชื่อจาก J2EE เป็น Java EE (Java Enterprise Edition) เพื่อลบภาพอันเลวร้ายของเดิมให้หมด และได้มีการนำฟีเจอร์เด็ดๆ ของ open source framework หลายๆ ตัว อย่างเช่นแกนหลักของ Spring อย่าง IoC (Inversion of Control) หรือ OR Mapping (Object Relational Mapping) ที่เป็นที่นิยมอย่าง Hibernate แต่ก็ไ...

ลองเล่น SonarQube คลื่นโซนาร์ช่วยตรวจสอบคุณภาพของ code

SonarQube  คือเครื่องมือช่วยตรวจสอบคุณภาพของ source code ช่วยหาข้อบกพร่องใน source code ไม่ว่าจะเป็น Bug ที่น่าจะเกิดขึ้น ช่องโหว่ทางด้านความปลอดภัยหรือกลิ่นไม่ดีใน source code ของเรา (Code Smell) และ ช่วยตรวจสอบเราเขียน code ทดสอบครอบคลุมหรือดีแล้วยังยัง (code coverage) Code Smell ไม่ได้ใช้วัดว่า source code นี้สามารถทำงานได้ถูกต้อง มี bug หรือช่องโหว่หรือไม่ แต่ Code Smell ใช้วัดถึงคุณภาพของการออกแบบ เพื่อตรวจสอบว่า source code ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันจะสามารถต่อเติม แก้ไขหรือทดสอบได้ง่ายหรือไม่ โดยหลักเกณฑ์ที่นำมาใช้วัดในส่วนของ Code Smell คือ ความซ้ำซ้อนของ code มี code แบบเดียวกันไปซ้ำกันในไฟล์ไหนบ้าง ตรวจสอบเงื่อนไขใน if ให้ ว่าเงื่อนไขตรงนี้มันมีโอกาสเป็นไปได้ไหม เพราะบางทีเงื่อนไขที่เราเขียนขึ้นมาเพื่อดักไว้ในบางครั้งมันแทบจะไม่มีโอกาสที่เวลามันทำงานแล้วเข้าเงื่อนไขในส่วนนั้น เป็นต้น สามารถไปอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ http://www.somkiat.cc/code-smell-internal-class/ นอกจาก SonarQube จะสามารถบอกถึงคุณภาพของ source code เราได้แล้ว ยังสามารถใช้ในการแจกแจงง...

Inversion of Control และ Dependency Injection

Inversion of Control (IoC) คืออะไร IoC เป็นทฤษฏีที่ว่าด้วย การลดความผูกมัด (dependency) กันในระหว่าง module เพื่อให้ application ของเราแก้ไข (maintain) ต่อเติม (extensible) หรือทดสอบ (test) ได้ง่ายขึ้น ซึ่งเอาจริงๆ IoC เป็นอะไรที่ทำให้เราสับสนและงุนงงมากๆ ว่ามันคืออะไร หลายๆ คนจึงยกให้ว่า IoC คือ Dependency Injection (DI) ซึ่งจริงๆ มันก็ไม่ถูกซะทีเดียว  Dependency คืออะไร Dependency คือการผูกมัดที่เกิดขึ้นในระบบ เมื่อ module นึงมีการเรียกใช้อีก module นึงด้วยการอ้างอิง (reference) ตรงๆ แล้วอะไรที่เรียกว่าการ อ้างอิง (Reference) แบบตรงๆ   อย่างภาพ diagram ด้านบน class LogEngine มีการเรียกใช้ ConsoleLog โดยตรง ซึ่งมองผ่าน diagram อาจจะไม่เห็นภาพลองดู code กัน public class ConsoleLog { public void openLog(){ //do something to open log } public void log(String message){ //do something to log } public void closeLog(){ //do something to close log } } public class LogEngine { private ConsoleLog log; public LogEng...