Skip to main content

Google ส่งหมายศาลจาก FBI ให้กับนักพัฒนาที่ FBI ได้ขอข้อมูลเกี่ยวกัับ App ละเมิดลิขสิทธิ์ใน App Store เถื่อน


เรื่อง apps ละเมิดลิขสิทธิ์กับ Android เรียกได้ว่าเป็นของคู่กันที่แยกกันไม่ออก ที่เป็นเช่นนี้เพราะการติดตั้ง app ใน Android นั้นค่อนข้างเปิดกว้าง เราสามารถติดตั้ง app จากนอก Play Store ได้โดยที่ไม่ต้อง Root เครื่องก่อน จึงเป็นช่องโหว่ที่ทำให้หลายๆ คนที่ไม่อยากเสียเงินซื้อ app ไปหาโหลด app ที่ละเมิดลิขสิทธิ์

ถ้าหากยังเป็นเช่นนี้ต่อไปอนาคตอาจจะไม่มีนักพัฒนาคนไหนอยากทำแอพลง Android เพราะในทุกวันนี้ app คุณภาพหรือเกมส์ดีๆ ที่นักพัฒนาพยายามพัฒนานั้นขายไม่ออก เพราะผู้ใช้หันไปโหลด app ที่ละเมิดลิขสิทธิ์กันหมด ซึ่งเรื่องนี้ได้เกิดขึ้นจริงแล้วกับเกมส์ดังอยาก Dead Trigger ซึ่งทางผู้ผลิตเค้าคิดไว้แล้วว่าถ้าตั้งราคาแพงๆ คนคงไม่ซื้อ จึงตั้งราคาไว้ที่ 30 บาทเท่านั้น ผลปรากฎว่าเกมส์เป็นที่นิยมมาก แต่ยอดขายกลับน้อยนิดเพราะคนเล่นเกมส์จาก app ที่ละเมิดลิขสิทธิ์

ซึ่งทางผู้ผลิตเลยตัดสินใจปล่อยให้โหลดฟรีและหันไปเก็บเงินจากการซื้อของในเกมส์แทน ซึ่งแน่นอนว่าหลายๆ คนไม่ชอบเกมส์ที่ต้องซื้อของ เพราะส่วนใหญ่เกมส์เหล่านี้จะเล่นยากเวอร์ถ้าหากไม่ได้ซื้อของ แต่ก็น่าเห็นใจนักพัฒนานะครับ แต่ที่เป็นเช่นนี้เพราะพวกเราทุกๆ คนเองไม่ใช่หรอ ที่สนับสนุน app และ เกมส์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์จนทำให้นักพัฒนาไม่มีทางเลือกจึงต้องทำแบบนี้

ซึ่งทาง Google เองดูเหมือนไม่สนใจและปล่อยผ่านปัญหานี้มานานมาก จนกระทั่งเมื่อเร็วๆ นี้ทาง FBI ได้ส่งหมายศาลมาให้ Google เกี่ยวกับ app ละเมิดลิขสิทธิ์ใน App Store เถื่อน  (เช่น Aliyun App StoreGoogle จึงได้ส่งต่อหมายศาลผ่าน email ถึงนักพัฒนาบางส่วนที่ทาง FBI ได้ขอข้อมูลมูลของนักพัฒนาจาก Google เพื่อใช้เป็นข้อมูลสำหรับการสืบสวนสวบสวน

โดย email นี้ได้แนบหมายศาลที่ออกโดย FBI มีใจความคร่าวๆ ว่า "Google ได้รับหมายศาลจาก FBI เกี่ยวกับ app ละเมิดลิขสิทธิ์ที่ไปโผล่บน App Store อื่นๆ โดยที่นักพัฒนาไม่ยินยอม ซึ่งในหมายศาลได้กล่าวว่าต้องการข้อมูลเกี่ยวกับ app ที่ถูกละเมิดรวมทั้งข้อมูลสำหรับการติดต่อนักพัฒนา โดย email นี้เป็นการย้ำว่าข้อมูลของบัญชีท่านได้ถูกส่งไปให้ FBI แล้ว โดยนักพัฒนาท่านใดที่ต้องการทราบรายละเอียดนอกเหนือจากนี้สามารถติดต่อกับ สำนักงาน FBI ในรัฐ Atlanta ได้โดยตรง"

Hello,

Google has received a subpoena seeking information related to Android applications that may have been made available on alternative markets without the consent of the developer. The subpoena seeks information about those Android applications, including contact information for the developers of the applications. Our records show that your Android developer account will be included in the information Google will provide in response to this subpoena.

Google is not in a position to provide you with legal advice or discuss the substance of the process in our possession. For more information about the subpoena, you may wish to contact the Federal Bureau of Investigation — Atlanta Field Office at (404) 679-9000, reference #2011R00320/FBI/ORKIN.

Regards,

Google Legal Investigations Support
ซึ่งมีนักพัฒนาท่านนึงที่ได้รับ email ฉบับนี้จึงได้สอบถามกลับไปที่ FBI และได้รับการยืนยันจาก FBI ว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องจริง และยังได้กล่าวอีกว่าเรื่องนี้นักพัฒนาไม่ต้องเป็นกังวล ถ้าทาง FBI เห็นเราเราตกเป็นเหยื่อของการละเมิดลิขสิทธิ์ ทาง FBI จะติดต่อกลับมาขอข้อมูลเพิ่มเติมหรือให้เราช่วยเป็นพยาน

แต่ก็มีคำถามตามมาว่าถ้า FBI ไม่ยื่นมือเข้ามาช่วย ทาง Google จะปล่อยให้ปัญหานี้ดำเนินต่อไปโดยที่ไม่ทำอะไรหรือเปล่า เพราะในตอนนี้ทาง FBI จะสืบสวนเฉพาะ app ละเมิดลิขสิทธิ์ที่ไปโผล่ใน App Store อื่นโดยที่นักพัฒนาไม่ยินยอม แต่ app ละเมิดลิขสิทธิ์ที่เราเห็นได้ทั่วไปในเว็บฝากไฟล์ Google จะมีมาตรการรับมือยังไงกับมัน หรือจะยังไม่สนใจรอให้หน่วยงานอื่นยื่นมือเข้ามาช่วย?

ที่มา Phandroid

Comments

Popular posts from this blog

ลองเล่นและเรียนรู้พื้นฐานขั้นต้นของ Spring Framework

** สำหรับใครที่ไม่เคยเรียนรู้ในด้านของ Java EE หรือ J2EE อาจจะมึนงงกับศัพท์หน่อยครับ ทำไมต้อง Spring Spring เป็น framework ที่นิยมมากในการนำไปสร้างระบบในระดับ enterprise ในเริ่มแรกที่ Spring เกิดมา มีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะมาแทนที่มาตรฐานของ Java อย่าง J2EE (Java 2 Enterprise Edition) ที่มันทั้งหน่วงทั้งอืดและยุ่งยาก โดยเฉพาะในส่วนของ EJB (Enterprise Java Bean) ที่ถือว่าเป็นฝันร้ายของนักพัฒนา ทำให้กูรูสาย Java ในช่วงนั้นถึงกับแนะนำว่า ถ้าจำเป็นที่ต้องพัฒนาระบบด้วย J2EE จงอย่าใช้ EJB ถึงขั้นถึงกับมีหนังสือแนะแนวทางการพัฒนาระบบ J2EE โดยไม่ใช้ EJB อย่างไรก็ตามทาง Sun ผู้เป็นเจ้าของ Java ในสมัยนั้น ถึงกับต้องมาล้างระบบ J2EE ใหม่ในปี 2006 จัดการใน EJB ให้ใช้ง่ายขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีการเปลี่ยนชื่อจาก J2EE เป็น Java EE (Java Enterprise Edition) เพื่อลบภาพอันเลวร้ายของเดิมให้หมด และได้มีการนำฟีเจอร์เด็ดๆ ของ open source framework หลายๆ ตัว อย่างเช่นแกนหลักของ Spring อย่าง IoC (Inversion of Control) หรือ OR Mapping (Object Relational Mapping) ที่เป็นที่นิยมอย่าง Hibernate แต่ก็ไ

ลองเล่น Lambda Expression ฟีเจอร์เด่นใน Java 8

ประวัติความเป็นมาของ Lambda expression Lambda expression ไม่ใช่สิ่งแปลกใหม่ในวงการ ภาษาโปรแกรม ( Programming Language ) เพราะ lambda มันเป็นแกนหลักของ การเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชัน ( Functional Programming ) ซึ่งมีอายุมานานมากแล้ว แต่ Java เพิ่งนำเอาคุณสมบัตินี้เอามาใส่ลงในเวอร์ชัน 8 หากจะกล่าวถึงที่มาของ lambda คงต้องไปดูที่ถึงที่มาของ lambda calculus ซึ่งถูกสร้างขึ้นมาตั้งแต่ปี 1930 โดยนักคณิตศาสตร์ชาวอเมริกัน  Alonzo Church  เพื่อใช้ในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ที่มีความซับซ้อน ในบางครั้งสมการทางคณิตศาสตร์ที่ยาวไปอาจจะทำให้เกิดความซับซ้อนโดยใช่เหตุ lambda calculus จะทำการยุบบางส่วนของสมการนั้นออกมาเป็นฟังก์ชันย่อยๆ เพื่อทำให้สมการนั้นเข้าใจง่ายขึ้น ต่อมาหลักการของ lambda calculus ได้ถูกนำไปใช้ใน Turing Machine ซึ่งเป็นแบบจำลองในอุดมคติของ Alan Turing  ที่ต่อมากลายเป็นต้นแบบที่ถูกนำไปใช้ในการผลิต  Von Neumann Machine  ซึ่ง Von Neumann Machine ตัวนี้ได้กลายเป็นต้นแบบของคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกในเวลาต่อมา ท้ายที่สุดแนวคิดของ lambda calculus ก็ถูกนำมาแปลงเป็นภาษาโปรแกรมท

ลองเล่น SonarQube คลื่นโซนาร์ช่วยตรวจสอบคุณภาพของ code

SonarQube  คือเครื่องมือช่วยตรวจสอบคุณภาพของ source code ช่วยหาข้อบกพร่องใน source code ไม่ว่าจะเป็น Bug ที่น่าจะเกิดขึ้น ช่องโหว่ทางด้านความปลอดภัยหรือกลิ่นไม่ดีใน source code ของเรา (Code Smell) และ ช่วยตรวจสอบเราเขียน code ทดสอบครอบคลุมหรือดีแล้วยังยัง (code coverage) Code Smell ไม่ได้ใช้วัดว่า source code นี้สามารถทำงานได้ถูกต้อง มี bug หรือช่องโหว่หรือไม่ แต่ Code Smell ใช้วัดถึงคุณภาพของการออกแบบ เพื่อตรวจสอบว่า source code ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันจะสามารถต่อเติม แก้ไขหรือทดสอบได้ง่ายหรือไม่ โดยหลักเกณฑ์ที่นำมาใช้วัดในส่วนของ Code Smell คือ ความซ้ำซ้อนของ code มี code แบบเดียวกันไปซ้ำกันในไฟล์ไหนบ้าง ตรวจสอบเงื่อนไขใน if ให้ ว่าเงื่อนไขตรงนี้มันมีโอกาสเป็นไปได้ไหม เพราะบางทีเงื่อนไขที่เราเขียนขึ้นมาเพื่อดักไว้ในบางครั้งมันแทบจะไม่มีโอกาสที่เวลามันทำงานแล้วเข้าเงื่อนไขในส่วนนั้น เป็นต้น สามารถไปอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ http://www.somkiat.cc/code-smell-internal-class/ นอกจาก SonarQube จะสามารถบอกถึงคุณภาพของ source code เราได้แล้ว ยังสามารถใช้ในการแจกแจงงานให