Skip to main content

[แตกประเด็น] เจาะลึกเบื้องหน้าเบื้องหลัง การทำแท้ง Acer CloudMobile A800 ในระบบ Aliyun OS ของ Google


หลังจากที่มีข่าวที่ Google สั่งห้ามไม่ให้ Acer เปิดตัวมือถือสมาร์ทโฟน Acer CloudMobile A800 ที่มาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ Android ที่โดนตัดต่อพันธุกรรมที่มีชื่อว่า Aliyun OS ซึ่งทาง Alibaba ผู้พัฒนา Aliyun OS ได้ออกมากล่าวว่าเป็นเพราะ Google เป็นผู้บีบไม่ให้ Acer เปิดตัว เพราะถ้าหาก Acer ไม่ยอมทำตาม Google จะใช้อำนาจถอดปลั๊กอิน (Google Services) จากผลิตภัณฑ์ทุกตัวของ Acer โดยทันที ส่วนทาง Google เก็บตัวเงียบไม่ให้ข่าวใดๆ ทั้งสิ้น - ข่าวเก่า

เชื่อว่าหลายๆ คนคงจะแปลกใจกับการกระทำแบบนี้ของ Google หลายคนอาจจะมองว่าเพราะ Alibaba เอา Android ไปปรับแต่งแล้วเอามาขายหรือเปล่า จึงทำให้ Google ไม่พอใจ และยิ่ง Acer ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มผู้กำหนดทิศทางของ Android (Open Handset Alliance) ด้วยแล้วไม่ควรที่จะทำแบบนี้

แต่การที่ Alibaba เอา Android ไปตัดต่อพันธุกรรมจนออกมาเป็น Aliyun OS ไม่น่าจะใช่ประเด็นที่ Google สั่ง Acer ห้ามขายมือถือที่มาพร้อมกับ Aliyun OS เพราะ Android เป็นระบบเปิดที่ให้ทุกคนสามารถเอาไปเพิ่มเติมหรือตัดแต่งได้ตามต้องการ เพราะถ้า Google ไม่ยอมจริงๆ ป่านนี้นักพัฒนาผู้สร้าง Custom ROM คงโดน Google ฟ้องไปแล้ว หรือว่าผู้ผลิตแท็บแล็ตชื่อดังอย่าง Amazon ที่พัฒนา Android ของตัวเองแล้วไปใส่ใน Kindle Fire หรือ Xiaomi ผู้พัฒนา MIUI ที่นำไปใส่ในมือถือ Xiaomi MI ของตนเองคงโดนฟ้องไปแล้ว

แต่ที่ Google ไม่พอใจ Aliyun OS เป็นเพราะ Aliyun App Store ซึ่งเป็นตลาดซื้อขาย app ของ Aliyun OS นั้นเต็มไปด้วย app ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ที่มาจาก Google Play Store ทั้งสิ้น โดยข้อมูลนี้ถูกเปิดเผยมาจาก Android Police ที่ไปทำการสืบค้นจนได้ข้อมูลที่น่าสนใจดังนี้
  • Aliyun App Store ยินยอมให้ผู้ใช้สามารถดาวน์โหลด apk ของ app ไปลงยังเครื่องคอมพิวเตอร์ได้

    ซึ่งโดยปกติแล้วในข้อตกลงของ Google จะไม่ยอมให้ดาวน์โหลด apk ได้โดยตรง เพราะทุกครั้งที่โหลด app ลงมือถือ Google จะทำการผูกข้อมูลในส่วนลิขสิทธิ์ (ใบอนุญาติ) เข้ากับ apk ของ app เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ผู้ใช้ back up ไฟล์ apk นำไปใช้ใส่ในเครื่องอื่น เพราะถ้าหากไปไฟล์ apk ที่ว่านี้ไปติดตั้งในเครื่องที่ google account ไม่ตรงกันก็จะไม่สามารถเปิด app ตัวนั้นรันขึ้นมาได้ (รายละเอียดเพิ่มเติมในข้อตกลงของ Google)

    ซึ่งการที่ Aliyun App Store ยินยอมให้ผู้ใช้สามารถดาวน์โหลด apk เก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ได้ แสดงว่าทาง Alibaba ได้มีการตัดตอน process ในการออกใบอนุญาติในตรงส่วนนี้ออกไป

    ซึ่งจากการทดลองไปเข้าใน Aliyun App Store พบว่าเราสามารถโหลด apk มาเก็บไว้ในเครื่องได้เลยโดยไม่จำเป็นต้องเข้าสู่ระบบเพื่อยืนยันตัวบุคคล จึงเป็นไปได้ว่าทาง Aliyun App Store ไม่มีระบบการออกใบอนุญาติ
  • มี app จาก Google อยู่ใน Aliyun App Store

    เป็นไปไม่ได้ที่ Google จะเอา app เหล่านี้ไปลงใน Aliyun App Store เพราะขนาดใน Amazon App Store ทาง Google ยังไม่เอา app เหล่านี้ไปลงให้เลย
  • มีหลายๆ app และหลายๆ เกมส์ดัง ที่ผู้พัฒนายังไม่รู้จักว่า Aliyun OS คืออะไรจึงไม่มีทางที่ไปโผล่บน Aliyun App Store ได้ แต่ใน Aliyun App Store ดันมีเช่นเกม Granny Smith ที่ซึ่งเปิดตัวไปไม่นานและขายในราคา 30 บาทได้ไปโผล่บน Aliyun App Store โดยภาพและรายละเอียดของ app และเกมส์เหล่านี้เหมือนใน Play Store และหมายเลขเวอร์ชั่นที่จะเหมือนใน Play Store หรือว่าบางกรณีอาจจะตามหลังเล็กน้อย

ต่อมา Andy Rubin ได้ออกมา post บน Google+ ของตนเอง โดยเนื้อหาประมาณว่า เราจะไม่นับ Aliyun OS ให้อยู่ในสารระบบของ Android ถึงแม้ว่า Aliyun OS เนื้อแท้ด้านในของมันจะเป็น Android เพราะทาง Alibaba กำลังทำนาบนหลังคน หากินกับความเหนื่อยยากของ OHA (Open Handset Alliance) โดย app ที่ละเมิดลิขสิทธิ์จาก Google Play Store

However, the fact is, Aliyun uses the Android runtime, framework and tools.  And your app store contains Android apps (including pirated Google apps).  So there's really no disputing that Aliyun is based on the Android platform and takes advantage of all the hard work that's gone into that platform by the OHA.
ที่มา Android Police

Comments

Popular posts from this blog

ลองเล่นและเรียนรู้พื้นฐานขั้นต้นของ Spring Framework

** สำหรับใครที่ไม่เคยเรียนรู้ในด้านของ Java EE หรือ J2EE อาจจะมึนงงกับศัพท์หน่อยครับ ทำไมต้อง Spring Spring เป็น framework ที่นิยมมากในการนำไปสร้างระบบในระดับ enterprise ในเริ่มแรกที่ Spring เกิดมา มีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะมาแทนที่มาตรฐานของ Java อย่าง J2EE (Java 2 Enterprise Edition) ที่มันทั้งหน่วงทั้งอืดและยุ่งยาก โดยเฉพาะในส่วนของ EJB (Enterprise Java Bean) ที่ถือว่าเป็นฝันร้ายของนักพัฒนา ทำให้กูรูสาย Java ในช่วงนั้นถึงกับแนะนำว่า ถ้าจำเป็นที่ต้องพัฒนาระบบด้วย J2EE จงอย่าใช้ EJB ถึงขั้นถึงกับมีหนังสือแนะแนวทางการพัฒนาระบบ J2EE โดยไม่ใช้ EJB อย่างไรก็ตามทาง Sun ผู้เป็นเจ้าของ Java ในสมัยนั้น ถึงกับต้องมาล้างระบบ J2EE ใหม่ในปี 2006 จัดการใน EJB ให้ใช้ง่ายขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีการเปลี่ยนชื่อจาก J2EE เป็น Java EE (Java Enterprise Edition) เพื่อลบภาพอันเลวร้ายของเดิมให้หมด และได้มีการนำฟีเจอร์เด็ดๆ ของ open source framework หลายๆ ตัว อย่างเช่นแกนหลักของ Spring อย่าง IoC (Inversion of Control) หรือ OR Mapping (Object Relational Mapping) ที่เป็นที่นิยมอย่าง Hibernate แต่ก็ไ

ลองเล่น Lambda Expression ฟีเจอร์เด่นใน Java 8

ประวัติความเป็นมาของ Lambda expression Lambda expression ไม่ใช่สิ่งแปลกใหม่ในวงการ ภาษาโปรแกรม ( Programming Language ) เพราะ lambda มันเป็นแกนหลักของ การเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชัน ( Functional Programming ) ซึ่งมีอายุมานานมากแล้ว แต่ Java เพิ่งนำเอาคุณสมบัตินี้เอามาใส่ลงในเวอร์ชัน 8 หากจะกล่าวถึงที่มาของ lambda คงต้องไปดูที่ถึงที่มาของ lambda calculus ซึ่งถูกสร้างขึ้นมาตั้งแต่ปี 1930 โดยนักคณิตศาสตร์ชาวอเมริกัน  Alonzo Church  เพื่อใช้ในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ที่มีความซับซ้อน ในบางครั้งสมการทางคณิตศาสตร์ที่ยาวไปอาจจะทำให้เกิดความซับซ้อนโดยใช่เหตุ lambda calculus จะทำการยุบบางส่วนของสมการนั้นออกมาเป็นฟังก์ชันย่อยๆ เพื่อทำให้สมการนั้นเข้าใจง่ายขึ้น ต่อมาหลักการของ lambda calculus ได้ถูกนำไปใช้ใน Turing Machine ซึ่งเป็นแบบจำลองในอุดมคติของ Alan Turing  ที่ต่อมากลายเป็นต้นแบบที่ถูกนำไปใช้ในการผลิต  Von Neumann Machine  ซึ่ง Von Neumann Machine ตัวนี้ได้กลายเป็นต้นแบบของคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกในเวลาต่อมา ท้ายที่สุดแนวคิดของ lambda calculus ก็ถูกนำมาแปลงเป็นภาษาโปรแกรมท

ลองเล่น SonarQube คลื่นโซนาร์ช่วยตรวจสอบคุณภาพของ code

SonarQube  คือเครื่องมือช่วยตรวจสอบคุณภาพของ source code ช่วยหาข้อบกพร่องใน source code ไม่ว่าจะเป็น Bug ที่น่าจะเกิดขึ้น ช่องโหว่ทางด้านความปลอดภัยหรือกลิ่นไม่ดีใน source code ของเรา (Code Smell) และ ช่วยตรวจสอบเราเขียน code ทดสอบครอบคลุมหรือดีแล้วยังยัง (code coverage) Code Smell ไม่ได้ใช้วัดว่า source code นี้สามารถทำงานได้ถูกต้อง มี bug หรือช่องโหว่หรือไม่ แต่ Code Smell ใช้วัดถึงคุณภาพของการออกแบบ เพื่อตรวจสอบว่า source code ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันจะสามารถต่อเติม แก้ไขหรือทดสอบได้ง่ายหรือไม่ โดยหลักเกณฑ์ที่นำมาใช้วัดในส่วนของ Code Smell คือ ความซ้ำซ้อนของ code มี code แบบเดียวกันไปซ้ำกันในไฟล์ไหนบ้าง ตรวจสอบเงื่อนไขใน if ให้ ว่าเงื่อนไขตรงนี้มันมีโอกาสเป็นไปได้ไหม เพราะบางทีเงื่อนไขที่เราเขียนขึ้นมาเพื่อดักไว้ในบางครั้งมันแทบจะไม่มีโอกาสที่เวลามันทำงานแล้วเข้าเงื่อนไขในส่วนนั้น เป็นต้น สามารถไปอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ http://www.somkiat.cc/code-smell-internal-class/ นอกจาก SonarQube จะสามารถบอกถึงคุณภาพของ source code เราได้แล้ว ยังสามารถใช้ในการแจกแจงงานให