Skip to main content

ทดสอบ TriNet กับ 3G ที่ดีขึ้น (รึเปล่า?) จาก DTAC


เมื่อวานนี้ (13 สค. 56) ผมได้รับข้อความจาก DTAC ว่าเบอร์ของผมจะได้รับการอัพเกรดให้เป็น TriNet ผมจึงได้อัดวิดีโอไว้เพื่อเปรียบเทียบความเร็วอินเตอร์เน็ตก่อนอัพเกรด (3G บนคลื่น 850 MHz) และ หลังการอัพเกรด (3G บนคลื่น 2100 MHz) ว่าแตกต่างกันแค่ไหน

ความเร็วอินเตอร์เน็ตก่อนการอัพเกรด (3G คลื่น 850 MHz)


ผมเพิ่งรู้ตัวว่าความเร็ว 3G บนคลื่น 850 MHz ของ DTAC มันช่วงห่วยแตกเสียเหลือเกิน จากวิดีโอทดสอบความเร็วอินเตอร์เน็ต (ด้านบน) จะเห็นได้ว่าความเร็วสูงสุดที่ได้ในช่วงเวลานั้น (บ่าย 2 - บ่าย 3) ไม่เคยเกิน 1 Mbps เลย โดยเฉลี่ยแล้วเร็วกว่าความเร็ว FUP (384 Kbps) เพียงนิดหน่อย (ขนาดโฮสต์ที่แอพ Speed Test ติดต่อได้ ณ ตอนนั้นเป็นโฮสต์ของ DTAC เองนะเนี่ย)


โดยก่อนหน้านั้นช่วงเวลา 11.00 - 12.00 ในวันเดียวกัน โดยคาดว่าน่าจะเป็นช่วงที่มีคนใช้อินเตอร์เน็ตอย่างหนาแน่น ความเร็วที่ได้ไม่เคยเกินความเร็ว FUP (384 Kbps) ทั้งๆ ที่วันนั้นเป็นวันตัดยอดเริ่มต้นนับยอดการใช้อินเตอร์เน็ตใหม่

ความเร็วอินเตอร์เน็ตหลังการอัพเกรด (3G คลื่น 2100 MHz)


ความเร็วต่างกันยังกะหน้ามือกับหลังเท้าเลยทีเดียว ความเร็วเฉลี่ยเกิน 5 Mbps โดยวิ่งได้เร็วสูงสุดถึง 8 Mbps (คนอื่นทดสอบแล้ววิ่งได้เร็วถึง 10 - 20 MB) แต่มีจุดหนึ่งที่น่าสังเกต สัญญาณ 3G คลื่น 2100 MHz มือถือผมรับได้แค่ 2 ขีดเท่านั้น นั่นแสดงว่าคลื่น 3G คลื่น 2100 MHz ของ DTAC นั้นยังไม่หนาแน่นซักเท่าไร

ตรงนี้เป็นปัญหาที่หลายๆ คนบ่นกันว่า "ทำไมเวลาเปลี่ยนเป็น TriNet แล้วแบตหมดเร็วขึ้น" เพราะถ้า 3G คลื่น 2100 MHz ที่ส่งมามีสัญญาณที่เบาบาง (อาจเกิดมาจากเสาสัญญาณที่มีอยู่ ณ ตอนนี้ วางแบบกระจายๆ เพื่อให้ครอบคลุมได้ทุกพื้นที่ของ กทม. และ ปริมณฑล แต่อาจจะไม่หนาแน่น ทำให้บางพื้นที่ที่อยู่ไกลๆ เสารับสัญญาณได้เบาบาง มือถือของเราต้องทำงานหนักมากขึ้นเพื่อขยายกำลังรับ ทำให้แบตมือถือลดลงอย่างรวดเร็ว

สรุป

3G ใหม่บนคลื่น 2100 MHz ของ TriNet จาก DTAC อินเตอร์เน็ตเร็วขึ้นทันตาเห็น แต่ความหนาแน่นของสัญญาณยังน้อยเกินไป ทำให้บางพื้นที่เห็นคลื่น 2100 MHz ได้อย่างเบาบาง เป็นเหตุให้มือถือกินแบตมากขึ้น

ส่วนปัญหา ไม่สามารถใช้อินเตอร์เน็ตได้เวลาคุยโทรศัพท์นั้นยังเป็นเหมือนเดิม และเหมือนว่ามันมือถือจะเกาะสัญญาณ Edge อยู่สักพัก (บางครั้งสักพักใหญ่ๆ) แล้วถึงจะกระโดดกลับมาเกาะ 3G อีกครั้งนึง

ที่ 3G บนคลื่น 2100 MHz ของ TriNet ในช่วงนี้ที่ยังให้ความรู้สึกว่าเร็วอยู่ อาจจะเป็นเพราะว่าคนใช้ TriNet ยังน้อยอยู่ ต้องรอดูกันต่อไปในระยะยาว ถ้าหากคนเริ่มใช้ TriNet กันเยอะขึ้นอินเตอร์เน็ตจะยังเร็วแบบนี้อีกไหม

พื้นที่การให้บริการ 3G (850 MHz และ 2100 MHz) ของเครือข่าย DTAC ในปัจจุบัน

แต่ยังมีเรื่องที่น่าติงอยู่เรื่องนึง เรื่องการวางเครือข่ายสัญญาณที่ดูเหมือนว่า DTAC จะทำช้ากว่าเจ้าอื่นๆ ถ้าเทียบกันกับ AIS ที่เริ่มต้นที่ศูนย์เหมือน DTAC ในเวลานี้ 3G บนคลื่น 2100 MHz ของ AIS ครอบคลุมพื้นที่ให้บริการมากกว่าพื้นที่ 3G ของ DTAC บนคลื่น 850 MHz และ 2100 MHz รวมกันซะอีก

พื้นที่การให้บริการ 3G (2100 MHz) ของเครือข่าย AIS ในปัจจุบัน

นอกจากนี้แผนการวางเครือข่ายคลื่น 2100 MHz ในอนาคตของ DTAC ที่ดูเหมือนว่าจะไม่กระตือรือร้นกับเรื่องนี้ซักเท่าไร เพราะปลายปีนี้ AIS ตั้งเป้าไว้ว่าจะวางเครือข่ายให้ครอบคลุมให้มากกว่า 50% ของทั้งประเทศ แต่แผนการวางเครือข่ายในอนาคตของ DTAC กลับมีพื้นที่ครอบคลุมน้อยกว่าพื้นที่ 3G 2100 MHz ของ AIS ณ ปัจจุบันนี้เสียอีก!!! (ถ้าหากมองโลกในแง่บวกเอาไว้ ข้อมูลบนเว็บ DTAC อาจจะยังไม่ได้อัพเดท)

พื้นที่การให้บริการ 3G (2100 MHz) ของเครือข่าย AIS ในอนาคต

พื้นที่การให้บริการ 3G 2100 MHz ของเครือข่าย DTAC ในอนาคต

ความคิดเห็นส่วนตัว

ผมใช้ DTAC มา 6 ปีกว่าแล้ว แต่ปีนี้เป็นปีแรกที่เพิ่งเปลี่ยนมาใช้แบบรายเดือน ในสมัยที่ยังเป็นยุคของ 2G (ปี 2553) ตอนนั้นสามารถอวดใครๆ ได้ว่า Edge ของ DTAC นั้นครอบคลุมในหลายๆ พื้นที่ที่ค่ายอื่นเข้าไม่ถึง ผมยังจำได้ตอนขึ้นเขาไปเที่ยวที่ภูสอยดาว มีเครื่องผมเพียงเครื่องเดียวที่สามารถอัพภาพขึ้น Facebook ได้ แต่ในสถานการณ์ตอนนี้กลับกัน ดูเหมือนว่า DTAC นั้นมีพื้นให้บริการ 3G น้อยที่สุด

ส่วนตัวผมคงจะรอดูสถานการณ์และให้โอกาส DTAC จนถึงปลายปีนี้ ถ้ายังไม่มีอะไรดีขึ้น ผมอาจจะโบกมือลา DTAC ไปยังค่ายอื่น

เพิ่มเติม สามารถตรวจสอบพื้นที่ให้บริการ 3G บนคลื่น 2100 MHz ของ DTAC และ AIS ได้ตาม link ด้านล่าง

อัพเดทข้อมูลเพิ่มเติม ทาง DTAC ได้ชี้แจงแถลงไขผ่านเว็บและ blogger ทั้งหลายไปตามอ่านได้ที่ droidsans.com ครับ 

มีข้อนึงที่ผมสะดุด 
3G 850MHz วางไปแล้วกว่า 60% ของพื้นที่ ส่วน 3G 2100MHz กำลังค่อยๆผุดขึ้นมาตามหัวเมืองใหญ่
แต่ในเว็บของ DTAC ตามข้อมูลที่ผมเสนอไปด้านบนดูไม่ค่อยสอดคล้องกัน 60% ที่ว่านี้เป็นของพื้นที่เป้าหมายว่าจะวางเสาสัญญาณ หรือ 60% ของพื้นที่ทั้งประเทศ?

Comments

Popular posts from this blog

ลองเล่นและเรียนรู้พื้นฐานขั้นต้นของ Spring Framework

** สำหรับใครที่ไม่เคยเรียนรู้ในด้านของ Java EE หรือ J2EE อาจจะมึนงงกับศัพท์หน่อยครับ ทำไมต้อง Spring Spring เป็น framework ที่นิยมมากในการนำไปสร้างระบบในระดับ enterprise ในเริ่มแรกที่ Spring เกิดมา มีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะมาแทนที่มาตรฐานของ Java อย่าง J2EE (Java 2 Enterprise Edition) ที่มันทั้งหน่วงทั้งอืดและยุ่งยาก โดยเฉพาะในส่วนของ EJB (Enterprise Java Bean) ที่ถือว่าเป็นฝันร้ายของนักพัฒนา ทำให้กูรูสาย Java ในช่วงนั้นถึงกับแนะนำว่า ถ้าจำเป็นที่ต้องพัฒนาระบบด้วย J2EE จงอย่าใช้ EJB ถึงขั้นถึงกับมีหนังสือแนะแนวทางการพัฒนาระบบ J2EE โดยไม่ใช้ EJB อย่างไรก็ตามทาง Sun ผู้เป็นเจ้าของ Java ในสมัยนั้น ถึงกับต้องมาล้างระบบ J2EE ใหม่ในปี 2006 จัดการใน EJB ให้ใช้ง่ายขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีการเปลี่ยนชื่อจาก J2EE เป็น Java EE (Java Enterprise Edition) เพื่อลบภาพอันเลวร้ายของเดิมให้หมด และได้มีการนำฟีเจอร์เด็ดๆ ของ open source framework หลายๆ ตัว อย่างเช่นแกนหลักของ Spring อย่าง IoC (Inversion of Control) หรือ OR Mapping (Object Relational Mapping) ที่เป็นที่นิยมอย่าง Hibernate แต่ก็ไ

ลองเล่น Lambda Expression ฟีเจอร์เด่นใน Java 8

ประวัติความเป็นมาของ Lambda expression Lambda expression ไม่ใช่สิ่งแปลกใหม่ในวงการ ภาษาโปรแกรม ( Programming Language ) เพราะ lambda มันเป็นแกนหลักของ การเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชัน ( Functional Programming ) ซึ่งมีอายุมานานมากแล้ว แต่ Java เพิ่งนำเอาคุณสมบัตินี้เอามาใส่ลงในเวอร์ชัน 8 หากจะกล่าวถึงที่มาของ lambda คงต้องไปดูที่ถึงที่มาของ lambda calculus ซึ่งถูกสร้างขึ้นมาตั้งแต่ปี 1930 โดยนักคณิตศาสตร์ชาวอเมริกัน  Alonzo Church  เพื่อใช้ในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ที่มีความซับซ้อน ในบางครั้งสมการทางคณิตศาสตร์ที่ยาวไปอาจจะทำให้เกิดความซับซ้อนโดยใช่เหตุ lambda calculus จะทำการยุบบางส่วนของสมการนั้นออกมาเป็นฟังก์ชันย่อยๆ เพื่อทำให้สมการนั้นเข้าใจง่ายขึ้น ต่อมาหลักการของ lambda calculus ได้ถูกนำไปใช้ใน Turing Machine ซึ่งเป็นแบบจำลองในอุดมคติของ Alan Turing  ที่ต่อมากลายเป็นต้นแบบที่ถูกนำไปใช้ในการผลิต  Von Neumann Machine  ซึ่ง Von Neumann Machine ตัวนี้ได้กลายเป็นต้นแบบของคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกในเวลาต่อมา ท้ายที่สุดแนวคิดของ lambda calculus ก็ถูกนำมาแปลงเป็นภาษาโปรแกรมท

ลองเล่น SonarQube คลื่นโซนาร์ช่วยตรวจสอบคุณภาพของ code

SonarQube  คือเครื่องมือช่วยตรวจสอบคุณภาพของ source code ช่วยหาข้อบกพร่องใน source code ไม่ว่าจะเป็น Bug ที่น่าจะเกิดขึ้น ช่องโหว่ทางด้านความปลอดภัยหรือกลิ่นไม่ดีใน source code ของเรา (Code Smell) และ ช่วยตรวจสอบเราเขียน code ทดสอบครอบคลุมหรือดีแล้วยังยัง (code coverage) Code Smell ไม่ได้ใช้วัดว่า source code นี้สามารถทำงานได้ถูกต้อง มี bug หรือช่องโหว่หรือไม่ แต่ Code Smell ใช้วัดถึงคุณภาพของการออกแบบ เพื่อตรวจสอบว่า source code ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันจะสามารถต่อเติม แก้ไขหรือทดสอบได้ง่ายหรือไม่ โดยหลักเกณฑ์ที่นำมาใช้วัดในส่วนของ Code Smell คือ ความซ้ำซ้อนของ code มี code แบบเดียวกันไปซ้ำกันในไฟล์ไหนบ้าง ตรวจสอบเงื่อนไขใน if ให้ ว่าเงื่อนไขตรงนี้มันมีโอกาสเป็นไปได้ไหม เพราะบางทีเงื่อนไขที่เราเขียนขึ้นมาเพื่อดักไว้ในบางครั้งมันแทบจะไม่มีโอกาสที่เวลามันทำงานแล้วเข้าเงื่อนไขในส่วนนั้น เป็นต้น สามารถไปอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ http://www.somkiat.cc/code-smell-internal-class/ นอกจาก SonarQube จะสามารถบอกถึงคุณภาพของ source code เราได้แล้ว ยังสามารถใช้ในการแจกแจงงานให