Skip to main content

พรีวิว LG G2 จากเว็บต่างประเทศ



หลังจากเปิดตัวเมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา ตอนนี้ทาง LG เริ่มทยอยส่งเครื่องให้บรรดาชาว blogger ต่างประเทศได้รีวิวกันแล้ว หลายๆ เว็บเริ่มปล่อยพรีวิวสั้นๆ ออกมาให้ชมกัน เราจะมาดูกันว่าหน้าจอที่กว้างถึง 5.2 นิ้วและการย้ายปุ่มไว้ด้านหลังทั้งหมดจะมีผลต่อการใช้งานไหม

รูปลักษณ์และขนาดของตัวเครื่อง


เป็นเรือธงรุ่นแรกของ LG ที่ไม่มีปุ่ม (home, setting, back) ทางกายภาพ (physical) แล้ว ทุกปุ่มย้ายเข้าไปอยู่บนหน้าจอทั้งหมด


ถึงแม้ว่าหน้าจอของ G2 จะมีขนาดใหญ่ถึง 5.2 นิ้ว แต่ตัวเครื่องกลับไม่ได้ใหญ่มากนักเมื่อเทียบกับ Nexus 4 ที่มีหน้าจอกว้าง 4.7 นิ้ว เป็นเพราะการย้ายปุ่ม power, volume locker ไว้ข้างหลังหมดทำให้ขอบจอบางลงอย่างเห็นได้ชัด ทำให้ขนาดไม่ต่างจากมือถือเรือธงค่ายอื่นที่มีหน้าจอขนาด 5 นิ้วเหมือนกัน


Nexus 4


LG G2


Galaxy S4


Xperia Z

หน้าจอ
4.7 นิ้ว
5.2 นิ้ว
5 นิ้ว
5 นิ้ว
ความยาว
133.9 mm
138.5 mm
136.6 mm
139 mm
ความกว้าง
68.7 mm
70.9 mm
69.8 mm
71 mm
ความหนา
9.1 mm
8.9 mm
7.9 mm
7.9 mm

ในส่วนของปุ่ม power และ volume locker ที่ถูกย้ายไปด้านหลัง หลายๆ คนคงคิดว่าการปลดล็อคหน้าจออาจจะยุ่งยาก เพราะต้องยกเครื่องขึ้นมาเพื่อกดปุ่ม power ที่ด้านหลัง แต่ฟีเจอร์ knock knock ทำให้การปลดล็อคเป็นไปได้ง่ายขึ้นด้วยการแตะหน้าจอสองครั้งติดต่อกันเพื่อเปิดและปิดหน้าจอ


ดูเหมือนว่าฟีเจอร์ knock knock นั้นฉลาดพอสมควร ในหน้าจอปกติถ้าต้องการดับหน้าจอจะต้องแตะหน้าจอสองครั้งที่แถบแจ้งเตือนเท่านั้นหน้าจอถึงจะดับ ที่เป็นเช่นนี้เพื่อเป็นการป้องกันการเผลอกดหน้าจอสองครั้งติดกันโดยไม่ตั้งใจ

กล้อง



นอกจาก LG G2 จะเป็น Android รุ่นแรกที่มีระบบ OIS กันการสั่นไหวในขณะถ่ายภาพแล้ว ยังรองรับการโฟกัสแบบหลายจุด (multi-point auto-focus) เหมือนที่กล้องรุ่นใหญ่อย่าง DSLR ทำได้ด้วย (น่าจะเป็นสมาร์ทโฟนตัวแรกที่มีระบบนี้)

UI/UX และ ฟีเจอร์ที่น่าสนใจ


มีการปรับปรุง UI ให้มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเองและดูแตกต่างจากคู่แข่งสัญชาติเดียวกันมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีลูกเล่นสามารถปรับแต่ง navigation bar (front touch buttons) ได้ด้วย
Slide Aside เป็นอีกหนึ่งฟีเจอร์ที่น่าสนใจ Slide Aside เป็นการใช้สามนิ้วปาดหน้าจอพร้อมๆ กันเพื่อสลับ app คล้ายๆ กับปุ่ม recent app แต่ Slide Aside ทำให้การสลับ app ที่เปิดค้างไว้ดูลื่นไหลกว่า (การเข้า recent app บน G2 นั้นค่อนข้างยุ่งยากต้องกดปุ่ม home ค้างไว้)
และนี่เป็นพรีวิวคร่าวๆ ที่สรุปเรื่องที่น่าสนใจของ LG G2 ส่วนใครขี้เกียจอ่านเนื้อหาด้านบน สามารถดูวิดีโอพรีวิวตามด้านล่างนี้ได้


ที่มา Android Central

Comments

Popular posts from this blog

ลองเล่นและเรียนรู้พื้นฐานขั้นต้นของ Spring Framework

** สำหรับใครที่ไม่เคยเรียนรู้ในด้านของ Java EE หรือ J2EE อาจจะมึนงงกับศัพท์หน่อยครับ ทำไมต้อง Spring Spring เป็น framework ที่นิยมมากในการนำไปสร้างระบบในระดับ enterprise ในเริ่มแรกที่ Spring เกิดมา มีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะมาแทนที่มาตรฐานของ Java อย่าง J2EE (Java 2 Enterprise Edition) ที่มันทั้งหน่วงทั้งอืดและยุ่งยาก โดยเฉพาะในส่วนของ EJB (Enterprise Java Bean) ที่ถือว่าเป็นฝันร้ายของนักพัฒนา ทำให้กูรูสาย Java ในช่วงนั้นถึงกับแนะนำว่า ถ้าจำเป็นที่ต้องพัฒนาระบบด้วย J2EE จงอย่าใช้ EJB ถึงขั้นถึงกับมีหนังสือแนะแนวทางการพัฒนาระบบ J2EE โดยไม่ใช้ EJB อย่างไรก็ตามทาง Sun ผู้เป็นเจ้าของ Java ในสมัยนั้น ถึงกับต้องมาล้างระบบ J2EE ใหม่ในปี 2006 จัดการใน EJB ให้ใช้ง่ายขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีการเปลี่ยนชื่อจาก J2EE เป็น Java EE (Java Enterprise Edition) เพื่อลบภาพอันเลวร้ายของเดิมให้หมด และได้มีการนำฟีเจอร์เด็ดๆ ของ open source framework หลายๆ ตัว อย่างเช่นแกนหลักของ Spring อย่าง IoC (Inversion of Control) หรือ OR Mapping (Object Relational Mapping) ที่เป็นที่นิยมอย่าง Hibernate แต่ก็ไ

ลองเล่น Lambda Expression ฟีเจอร์เด่นใน Java 8

ประวัติความเป็นมาของ Lambda expression Lambda expression ไม่ใช่สิ่งแปลกใหม่ในวงการ ภาษาโปรแกรม ( Programming Language ) เพราะ lambda มันเป็นแกนหลักของ การเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชัน ( Functional Programming ) ซึ่งมีอายุมานานมากแล้ว แต่ Java เพิ่งนำเอาคุณสมบัตินี้เอามาใส่ลงในเวอร์ชัน 8 หากจะกล่าวถึงที่มาของ lambda คงต้องไปดูที่ถึงที่มาของ lambda calculus ซึ่งถูกสร้างขึ้นมาตั้งแต่ปี 1930 โดยนักคณิตศาสตร์ชาวอเมริกัน  Alonzo Church  เพื่อใช้ในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ที่มีความซับซ้อน ในบางครั้งสมการทางคณิตศาสตร์ที่ยาวไปอาจจะทำให้เกิดความซับซ้อนโดยใช่เหตุ lambda calculus จะทำการยุบบางส่วนของสมการนั้นออกมาเป็นฟังก์ชันย่อยๆ เพื่อทำให้สมการนั้นเข้าใจง่ายขึ้น ต่อมาหลักการของ lambda calculus ได้ถูกนำไปใช้ใน Turing Machine ซึ่งเป็นแบบจำลองในอุดมคติของ Alan Turing  ที่ต่อมากลายเป็นต้นแบบที่ถูกนำไปใช้ในการผลิต  Von Neumann Machine  ซึ่ง Von Neumann Machine ตัวนี้ได้กลายเป็นต้นแบบของคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกในเวลาต่อมา ท้ายที่สุดแนวคิดของ lambda calculus ก็ถูกนำมาแปลงเป็นภาษาโปรแกรมท

ลองเล่น SonarQube คลื่นโซนาร์ช่วยตรวจสอบคุณภาพของ code

SonarQube  คือเครื่องมือช่วยตรวจสอบคุณภาพของ source code ช่วยหาข้อบกพร่องใน source code ไม่ว่าจะเป็น Bug ที่น่าจะเกิดขึ้น ช่องโหว่ทางด้านความปลอดภัยหรือกลิ่นไม่ดีใน source code ของเรา (Code Smell) และ ช่วยตรวจสอบเราเขียน code ทดสอบครอบคลุมหรือดีแล้วยังยัง (code coverage) Code Smell ไม่ได้ใช้วัดว่า source code นี้สามารถทำงานได้ถูกต้อง มี bug หรือช่องโหว่หรือไม่ แต่ Code Smell ใช้วัดถึงคุณภาพของการออกแบบ เพื่อตรวจสอบว่า source code ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันจะสามารถต่อเติม แก้ไขหรือทดสอบได้ง่ายหรือไม่ โดยหลักเกณฑ์ที่นำมาใช้วัดในส่วนของ Code Smell คือ ความซ้ำซ้อนของ code มี code แบบเดียวกันไปซ้ำกันในไฟล์ไหนบ้าง ตรวจสอบเงื่อนไขใน if ให้ ว่าเงื่อนไขตรงนี้มันมีโอกาสเป็นไปได้ไหม เพราะบางทีเงื่อนไขที่เราเขียนขึ้นมาเพื่อดักไว้ในบางครั้งมันแทบจะไม่มีโอกาสที่เวลามันทำงานแล้วเข้าเงื่อนไขในส่วนนั้น เป็นต้น สามารถไปอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ http://www.somkiat.cc/code-smell-internal-class/ นอกจาก SonarQube จะสามารถบอกถึงคุณภาพของ source code เราได้แล้ว ยังสามารถใช้ในการแจกแจงงานให