Skip to main content

HTC Butterfly ชื่ออย่างเป็นทางการของมือถือ HTC DLX/Droid DNA/J Butterfly

ในวันนี้ HTC ได้แอบเปิดตัวมือถือ HTC Butterfly อย่างเงียบๆ โดย HTC Butterfly ที่ว่านี้เป็นตัวเดียวกับ HTC J Butterfly (เป็นชื่อที่ HTC ใช้ในประเทศญี่ปุ่น) และ HTC Droid DNA (เป็นชื่อที่ HTC ใช้ในประเทศสหรัฐ) ส่วน HTC Butterfly จะเป็นชื่อที่ HTC จะใช้ในการจัดจำหน่ายทั่วโลก

โดย Butterfly นั้นมีสเปคที่ไม่ค่อยจะแตกต่างจากรุ่น J Butterfly และ Droid DNA ซักเท่าไร แต่จะมีรายละเอียดปลีกย่อยที่ไม่เหมือนกัน โดย Butterfly จะเหมือนกับ J Butterfly มากกว่า แต่จะต่างกันตรงที่ Butterfly จะไม่สามารถกันน้ำอย่าง J Butterfly มีสเปคคร่าวๆ ดังนี้
  • หน่วยประมวลผล: Qualcomm Snapdragon S4 Pro quad-core processor ความเร็ว 1.5GHz
  • หน้าจอแสดงผล: LCD 3 ที่มาพร้อมกับ Corning Gorilla Glass 2 ขนาด 5 นิ้ว ความละเอียด 1920 x 1080 pixels
  • หน่วยความจำ: RAM 2GB, หน่วยความจำภายใน 16GB  รองรับ microSD
  • กล้องหลัง: 8 megapixel เลนส์ f/2.0
  • กล้องหน้า: 2.1-megapixel เลนส์ f/2.0 รองรับการถ่ายวิดีโอระดับ Full HD (1080p)
  • แบตเตอรี่: 2020 mAh
  • ระบบเสียง: Beats Audio แบบ Full-Integrated พร้อม Amplifier ขนาด 2.55 โวลต์ ในตัว
  • Android 4.1/Sense 4+
  • ขนาด: 143 x 75 x 9.08 mm
  • น้ำหนัก: 140 กรัม
โดยรุ่นนี้มีข่าวว่าจะเข้าไทยด้วยในช่วงต้นปีหน้าด้วย (ข่าวเก่า) สามารถไปดูรายละเอียดและข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บของ HTC

ที่มา BGR ผ่าน Blognone

Comments

Popular posts from this blog

ลองเล่นและเรียนรู้พื้นฐานขั้นต้นของ Spring Framework

** สำหรับใครที่ไม่เคยเรียนรู้ในด้านของ Java EE หรือ J2EE อาจจะมึนงงกับศัพท์หน่อยครับ ทำไมต้อง Spring Spring เป็น framework ที่นิยมมากในการนำไปสร้างระบบในระดับ enterprise ในเริ่มแรกที่ Spring เกิดมา มีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะมาแทนที่มาตรฐานของ Java อย่าง J2EE (Java 2 Enterprise Edition) ที่มันทั้งหน่วงทั้งอืดและยุ่งยาก โดยเฉพาะในส่วนของ EJB (Enterprise Java Bean) ที่ถือว่าเป็นฝันร้ายของนักพัฒนา ทำให้กูรูสาย Java ในช่วงนั้นถึงกับแนะนำว่า ถ้าจำเป็นที่ต้องพัฒนาระบบด้วย J2EE จงอย่าใช้ EJB ถึงขั้นถึงกับมีหนังสือแนะแนวทางการพัฒนาระบบ J2EE โดยไม่ใช้ EJB อย่างไรก็ตามทาง Sun ผู้เป็นเจ้าของ Java ในสมัยนั้น ถึงกับต้องมาล้างระบบ J2EE ใหม่ในปี 2006 จัดการใน EJB ให้ใช้ง่ายขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีการเปลี่ยนชื่อจาก J2EE เป็น Java EE (Java Enterprise Edition) เพื่อลบภาพอันเลวร้ายของเดิมให้หมด และได้มีการนำฟีเจอร์เด็ดๆ ของ open source framework หลายๆ ตัว อย่างเช่นแกนหลักของ Spring อย่าง IoC (Inversion of Control) หรือ OR Mapping (Object Relational Mapping) ที่เป็นที่นิยมอย่าง Hibernate แต่ก็ไ

Inversion of Control และ Dependency Injection

Inversion of Control (IoC) คืออะไร IoC เป็นทฤษฏีที่ว่าด้วย การลดความผูกมัด (dependency) กันในระหว่าง module เพื่อให้ application ของเราแก้ไข (maintain) ต่อเติม (extensible) หรือทดสอบ (test) ได้ง่ายขึ้น ซึ่งเอาจริงๆ IoC เป็นอะไรที่ทำให้เราสับสนและงุนงงมากๆ ว่ามันคืออะไร หลายๆ คนจึงยกให้ว่า IoC คือ Dependency Injection (DI) ซึ่งจริงๆ มันก็ไม่ถูกซะทีเดียว  Dependency คืออะไร Dependency คือการผูกมัดที่เกิดขึ้นในระบบ เมื่อ module นึงมีการเรียกใช้อีก module นึงด้วยการอ้างอิง (reference) ตรงๆ แล้วอะไรที่เรียกว่าการ อ้างอิง (Reference) แบบตรงๆ   อย่างภาพ diagram ด้านบน class LogEngine มีการเรียกใช้ ConsoleLog โดยตรง ซึ่งมองผ่าน diagram อาจจะไม่เห็นภาพลองดู code กัน public class ConsoleLog { public void openLog(){ //do something to open log } public void log(String message){ //do something to log } public void closeLog(){ //do something to close log } } public class LogEngine { private ConsoleLog log; public LogEngine(){

ลองเล่น Lambda Expression ฟีเจอร์เด่นใน Java 8

ประวัติความเป็นมาของ Lambda expression Lambda expression ไม่ใช่สิ่งแปลกใหม่ในวงการ ภาษาโปรแกรม ( Programming Language ) เพราะ lambda มันเป็นแกนหลักของ การเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชัน ( Functional Programming ) ซึ่งมีอายุมานานมากแล้ว แต่ Java เพิ่งนำเอาคุณสมบัตินี้เอามาใส่ลงในเวอร์ชัน 8 หากจะกล่าวถึงที่มาของ lambda คงต้องไปดูที่ถึงที่มาของ lambda calculus ซึ่งถูกสร้างขึ้นมาตั้งแต่ปี 1930 โดยนักคณิตศาสตร์ชาวอเมริกัน  Alonzo Church  เพื่อใช้ในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ที่มีความซับซ้อน ในบางครั้งสมการทางคณิตศาสตร์ที่ยาวไปอาจจะทำให้เกิดความซับซ้อนโดยใช่เหตุ lambda calculus จะทำการยุบบางส่วนของสมการนั้นออกมาเป็นฟังก์ชันย่อยๆ เพื่อทำให้สมการนั้นเข้าใจง่ายขึ้น ต่อมาหลักการของ lambda calculus ได้ถูกนำไปใช้ใน Turing Machine ซึ่งเป็นแบบจำลองในอุดมคติของ Alan Turing  ที่ต่อมากลายเป็นต้นแบบที่ถูกนำไปใช้ในการผลิต  Von Neumann Machine  ซึ่ง Von Neumann Machine ตัวนี้ได้กลายเป็นต้นแบบของคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกในเวลาต่อมา ท้ายที่สุดแนวคิดของ lambda calculus ก็ถูกนำมาแปลงเป็นภาษาโปรแกรมท